บทบาทของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กับการเมืองไทยช่วง พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มาโครงสร้างและหน้าที่และอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) ศึกษาบทบาทของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ (3) ศึกษาผลกระทบต่อการเมืองไทยจากคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ที่มาในการจัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสืบเนื่องจากการทุจริตของนักการเมืองและการประพฤติมิชอบในวงราชการมีมากขึ้น แต่การดำเนินคดีอาญาตามปกติไม่อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีโครงสร้างลักษณะพิเศษแตกต่างจากศาลยุติธรรมทั่วไป มีบทบาทในการตัดสินคดีในฐานะสถาบันที่ทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจโดยการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตของนักการเมือง และมีความเหมาะสมกับการทำการเมืองให้โปร่งใสและตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยที่รัฐบาลหรือนักการเมืองไม่เพียงจะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากเท่านั้น แต่จะต้องพร้อมให้ถูกตรวจสอบโดยใช้อำนาจอย่างรับผิดชอบภายในขอบเขตของกฎหมายโดยไม่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกด้วย
Article Details
References
จิรโชค วีระสย. (2557). ปรัชญาเชิงศาสตร์ VI Philosophy of Science นวสมัย แนวทางศึกษาเชิงสังคมศาสตร์ Modernity and Academic Approaches. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จากhttp://www.phd.ru.ac.th /newszian/files/20140926_1612389902-270957.pdf
จิรายุ ฉัตระทิน. (2562). บทบาทศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อระบบการเมืองไทยกรณีศึกษาคดีโครงการรับจำนำข้าว. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 252-260.
เทพ อิงคสิทธิ์. (2565). ระบบการไต่สวนและกระบวนการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา. การบรรยายสรุปการศึกษาดูงานหลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 13, 28 เมษายน 2565.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). ระบบการตรวจสอบทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง (รายงานการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บูฆอรี ยีหมะ. (2560). การวิเคราะห์การเมืองแนวสถาบันนิยมและรัฐธรรมนูญนิยม ในแผนกิจกรรมการศึกษา ชุดวิชา 81713 การวิเคราะห์การเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง, 5-9.
วิชา มหาคุณ. (2556). การปฏิรูปองค์กรตุลาการซ ความท้าทายในบริบทการเมืองไทย. วารสารจุลนิติ, 10(2), 3-11.
วิทยากร เชียงกูล. (2527). การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย: บทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ฉับแกระ.
วีระ สมบูรณ์. (2561). มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัตน์. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(1),7-32
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา: เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อธิคม อินทุภูติ. (2551). แนวทางการพัฒนากระบวนวิธีพิจารณาระบบไต่สวนในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. เอกสารวิชาการส่วนบุคคลหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง, วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.
Huntington, S.P. (1969). Political Order in Changing Societies. Second edition. Connecticut: Yale University Press.
Koopmans, T. (2003). Courts and Political Institutions: A Comparative View. Cambridge: University Press.
Quah, J.S.T. (2007). Combating Corruption Singapore-Style: Lessons for Other Asian Countries. Maryland Series in Contemporary Asian Studies, 2007(2), 1-56.
Vallinder, T. (1995). The Global Expansion of Judicial Power. New York: New York University Press.