การตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบทียบการตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริโภคที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ร้าน โดยใช้สูตรของ Cochran และวิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t- test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการค้นหาและเปรียบข้อมูล ด้านการเลือกซื้อสินค้า ด้านความคุ้มค่า ด้านการกลับมาซื้อซ้ำ และด้านการแนะนำผู้อื่น ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ มีการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กมล โสระเวช. (2557). ปัจจัยค่านิยมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 123-136.
ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2558). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋า และรองเท้าสุภาพสตรี (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธาริกา ฉัตรกมลธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าแบรนด์เนมของกลุ่มเพศทางเลือก LGBTQ+ ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุศรา พิยกูล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของนิสิต นักศึกษาปริญญาโท เขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปนัดดา กันกา และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564). พฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 11(1), 150-160.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2565). แบรนด์เนมอัพราคา 1 ใน 7 เทรนด์สะท้อนตลาดลักเซอรี่โลกเบ่งบาน. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565, จาก https://www.prachachat.net/world-news/news-856311
ภาวิณี แสงมณี และเบญจมาภรณ์ อิศรเดช. (2558). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม ของพนักงานบริษัทบริเวณศูนย์การค้าสยามพารากอน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 3(3), 239-249.
ภาสวรรณ ธีรอรรถ. (2555). บุคลิกภาพและค่านิยมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคเพศหญิงในการเลือกซื้อกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศศินภา เลาหสินณรงค์. (2557). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (ความตั้งใจ ความสนใจ ความต้องการ และการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมแท้ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). 8 สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
อรสิริ ทัศนาวรากุล. (2554). ค่านิยมการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าสยามพารากอนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Belch, G. E. & Belch. M. A. (2005). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. Boston: McGraw-Hill.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: The Millennium Edition. Upper Saddle River, NJ: Person Prentice Hall.
Kotler, P. (2009). Marketing management: analysis, planning implementation and control. (12th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Schiffman, L. & Kanuk, L. (2007). Consumer behavior. (9th ed.). New Jersey: Prentice- Hill.