ภาพลักษณ์ขององค์กร คุณภาพการให้บริการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยของ บริษัท เอไอเอ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาพลักษณ์ขององค์กร คุณภาพการให้บริการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยของ บริษัท เอไอเอ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ตามทะเบียนบ้านปี พ.ศ. 2564 ทั้ง 50 เขต จำนวน 5,527,994 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จากประชาชนที่สนใจเลือกซื้อประกันชีวิตของบริษัท เอไอเอ จำกัด เขตละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 65.50 ส่วนใหญ่อายุ 65 - 70 ปี ร้อยละ 66.00 ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพธุรกิจครอบครัว ร้อยละ 52.75 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (บาท) ต่ำกว่า 10,000 ร้อยละ 37.00 โดยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นต่อภาพลักษณ์ขององค์กร คุณภาพการให้บริการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัท เอไอเอ จำกัดใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น บริษัท เอไอเอ จึงควรดำรงรักษา และพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กร คุณภาพการให้บริการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้กับผู้บริโภคได้รับคุณค่าในการบริการของบริษัทเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2554). ทฤษฎีของคุณภาพการให้บริการ. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564, จาก
http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=4&bookID=1285&read=true&count=true
เดชพงศ์ โพธิสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการใน องค์กรภาคเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 69-80.
บริษัท เอราวัณ แพลนเนอร์ จำกัด. (2564). โครงการเอไอเอ ก้าวใหม่ ชีวิตใหม่. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564,จาก www.erawanplanner.com/index.php
เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ใน กรุงทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยากรุงเทพ.
ปภาวี บุญกลาง. (2560). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษา สาขาในเขตอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
พนิดา เพชรรัตน์. (2556). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีอากรส านักงานสรรพากรพื้นที่นครราชสีมา 2 (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
พัชราภรณ์ เกษะประกร. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการบริหารเอกลักษณ์ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย. (2564). สถิติจำนวนประชากรและบ้าน. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTe mplate/Area/statpop
Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.
Goetsch, D.L. and Davis, S. (1997). Introduction to Total Quality: Quality Management for Production, Processing, and Services. London: Prentice-Hall.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: The Millennium Edition. Upper Saddle River: Person Prentice Hall.
Kotler, P. & Armstrong, G. (2008). Principles of Marketing (12th ed.). London: Pearson Education Limited.
Wood, J. T. (2001). Gendered lives: Communication, gender, and culture (4th ed.). Belmont, CA: Wadsworth.
Yamane, T. (1973).Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.