การจัดการองค์ความรู้การเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในพื้นที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ณัฏฐชัย เอกนราจินดาวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า และ 2) พัฒนาศักยภาพชุมชนในด้านการทอผ้าไหม การย้อมสี และการทำสีย้อมธรรมชาติ งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 13 ราย และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 ราย ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการองค์ความรู้การเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม เพื่อเพิ่มมูลค่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลักษณะและองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม อยู่ในระดับมากทุกราย โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ มีกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ผ้าไหม มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัยและตลาดเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น เพื่อการขยายช่องทางการตลาด มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค 2) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่เน้นคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย และมีความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่จากผ้าไหมที่สร้างผลกำไร เพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการผู้ผลิตและร้านค้าผ้าไหม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2565, จาก https://chumchon.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/106/2020/07/กรมการพัฒนาชุมชน-2020_vol-3.pdf

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2555). มาตรฐานศูนย์การเรียนรู้ชุมชน. กรุงเทพฯ: มาตรฐานการบริหารงาน อปท.

กรมหม่อนไหม. (2555). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการหม่อนไหม. กรุงเทพฯ: กรมหม่อนไหม.

กรมหม่อนไหม. (2560). ทิศทางและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2561. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564, จากhttp://122.154.22.188/newqsds/file_upload/1118compressed- .pdf

กรมหม่อนไหม. (ม.ป.ป.). ประวัติกรมหม่อนไหม. ค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564, จาก https://qsds.go.th/ข้อมูลองค์กร/ประวัติความเป็นมา

กิตานันท์ มะลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณรงค์ กุลนิเทศ และ สุดาวรรณ สมใจ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยชั้นสูง และการออกแบบวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มาสเตอร์พรินท์ สามเสน.

ธนวัฒน์ เสนเผือก. (2552). ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ไชยวาน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

ปวีณา ผาแสง และคณะ. (2560). การศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอพื้นเมืองน่าน กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเฮี้ย ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยชุมชนน่าน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, (สคส.).

สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม. (2558). พันธุ์ไหมอนุรักษ์. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564, จาก https://qsds.go.th/newocss/wp-content/uploads/sites/74/2021/10/silk58.pdf

สุทธา สายวาณิชย์. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง(รายงานการวิจัย). สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2553). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2552). ศูนย์การเรียนรู้กับการพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

อาริยา หุ่นวงศ์ษา. (2560). การส่งเสริมกลุ่มอาชีพผ้าไหมไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), 53-64.

Ruggles, R. L. (1997). Tools for knowledge management: An introduction. In Knowledge management tools, 1-8. Boston: Butterworth-Heinemann.