การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลปศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลปะศาสตร์ และ 2) เปรียบเที่ยบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลปะศาสตร์ ด้านเพศ และด้านกลุ่มห้องเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
มีจำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล โดยภาพรวม มีความสำคัญระดับมาก และเมื่อแยกพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างรายวิชา มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผู้สอน และด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ตามลำดับ ความคาดหวังของนักศึกษาโดยรวมมีความคาดหวังให้กิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะการสนทนา การอ่าน การเขียน และความรู้ด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในการฝึกใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์เสมือนจริง และ 2) สมมติฐาน ด้านเพศ ไม่แตกต่างกัน และด้านกลุ่มห้องเรียนกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มเดียวที่มีแตกต่างกับ กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับ มาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สมบัติ คชสิทธิ์, จันทนี อินทรสูต และธนกร สุวรรณ พฤฒิ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 7(2), 175-186.
อริยา คูหา, สรินฎา ปุติ และฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 1-13.
Brown, C. G. (2012). A Systematic Review of the Relationship between Self-Efficacy and Burnout in Teachers. Educational and Child Psychology, 29, 47-63.
Chung, W. & Robichaud, O. (2017). Learn Languages & Learn French & Learn Spanish. Scotts Valley, CA: Createspace Independent Pub.
Graddol, D. (2006). English next. London: British Council.
Grasha, A. & Reichman, S. (1975). Workshop handout on learning styles. Ohio: Faculty of Research Center, University of Cincinnati.
Hutchinson, T., & Walters, A. (1994). English for specific purposes. London: Cambridge University Press.
Nunan, D. (2008). English as a global language: Policy and practice. New York: McGraw Hill.
Richards, J. C. (2017). Curriculum Development in Language Teaching. (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Richards, J. C. & Rodgers, T. S. (2019). Approaches and Methods in Language Teaching. (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Rose, H. & Galloway, N. (2019). Global Englishes for Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Sojoodizadeh, R., Ahangari, S. & Sheykhsaran, E. (2020). Evaluation of Tabriz Medical Students’ Expectations of Learning English for Specific Purposes (ESP): A Focus on Gender and Subject Field. Research and Development in Medical Education, 9(5), 1-5.
Trilling B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco, CA: Jossey-Bass.