คุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรามาธิบดี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ 2) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และ 3) สภาวะจิตใจในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคลากรทางการแพทย์ที่มีบทบาทในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) แพทย์ 2) ผู้ช่วยแพทย์
3) พยาบาล 4) บุรุษพยาบาล และ 5) แพทย์ประจำห้องปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรามาธิบดีประสบปัญหาแรงกดดันและความเครียดจากการทำงานภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การขาดยารักษาโรค การขาดเตียงคนไข้ การขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการขาดแคลนห้องคนไข้ 2) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า รายได้ไม่เพียงพอ ความไม่ปลอดภัยในการทำงานภายใต้สถานการณ์โรคระบาด ความทุกข์จากการต่อสู้รักษาคนไข้จากโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง และ 3) สภาวะจิตใจของบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า และภาวะหมดไฟจากการทำงาน
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2564). แนะสังคมไทยพัฒนาจิตใจ ด้วย “วินัย -สุขนิสัย ” ป้องภัยโควิด 19 กรมสุขภาพจิต. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/covid19/ news2/view.asp?id=32
ธนัชชา จันคณา, พิพัฒน์ ไทยอารี และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี (2564) ศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในหน่วยงานราชการที่มีผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 กรณีศึกษา: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 42(3), 124-134.
ผู้จัดการออนไลน์. (17 กรกฎาคม 2564). รพ.รามาธิบดี วิกฤต! บุคลากรติดเชื้อ 300 ราย ประกาศงดรับผ่าตัดนัดล่วงหน้า ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน ผู้จัดการออนไลน์. ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/ onlinesection/detail/9640000069739
เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2542). การสาธารณสุขมูลฐาน. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.
หยาดพิรุณ ขุนศรี และคณะ (2565) ศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิต และความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในเขตพื้นที่ภาคใต้. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(2), 323-337.
Bennett, N. (1975). Population Growth, Individual Demographic Decision, and Quality of Life. Bangkok: Population Education Project, Mahidol University.
Stockdale, J.D. (1973). A Perspective on Poverty and Quality of Life. Growth and Change, 4(4), 24-28.
Stojanov, J., et al. (2020). Quality of sleep and health-related quality of life among health care professionals treating patients with coronavirus disease-19. International Journal of Social Psychiatry, 67(2), 1-7.
UNESCO. (1993). Quality of life improvement programmes. Bangkok: UNESCO regional.