การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ธามม วงศ์สรรคกร
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
อัครมณี สมใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นประชาชน
ที่ผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี ที่อาศัยเขต 50 เขต ตามที่มีทะเบียนบ้าน ตามสำเนาทะเบียนบ้าน เขตละ 8 คน จำนวน 400 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับร้อยละ 95 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบมาตรา
ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า เป็นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อน รองลงมาคือ ทำให้ติดต่อคนที่ห่างไกลหรือไม่ได้ติดต่อกันนาน ตามลำดับ ทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ ดึงดูดความสนใจ รองลงมาคือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นกระแสหรือเป็นที่สนใจในสื่อสังคมออนไลน์ ตามลำดับ และพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ผู้สูงอายุใช้สื่อออนไลน์เพื่อแชร์ข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน รองลงมาคือ ใช้พูดคุยสื่อสารกับเพื่อน และคนในครอบครัว ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตพล บันทัดทอง. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วน ประมาณค่า กับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มศว. มหาสารคาม, 3(1), 22-25.

ภิญญาพัชญ์ กาวินคำ, วิชิต เทพประสิทธิ์ และนิธิกุล อินทรทิพย์. (2562). สภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูเกษียณจังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(1), 109-122.

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (มปป.). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สื่อสังคมออนไลน์. ค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2564, จาก https://sci.dru.ac.th/dlr/files3/Media%20Online.pdf

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ม และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 11(2), 367-387.

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561). รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 134-149.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). โอกาสของโลกดิจิทัลในสังคมสูงวัย. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564,จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/article5-2563

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.