แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ยุคปกติใหม่

Main Article Content

ธนกร จินดาดวงรัตน์
ทวี แจ่มจำรัส
ชัยเดช ช่างเพียร
ชัยวัฒน์ รวิโรจนวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย  ข้าราชการระดับผู้บริหารในระดับชาติและท้องถิ่นที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การมีส่วนร่วม การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการแหล่งท่องเที่ยว และ พฤติกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) การมีส่วนร่วมมีอิทธิพลเชิงสาเหตุโดยรวมต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ยุคปกติใหม่มากที่สุด รองลงมา พฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในยุคปกติใหม่ มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย การมีส่วนร่วมที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวและการส่งเสริมการท่องเที่ยวอยู่ตรงกลาง และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (2564). อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2566, จาก https://portal.dnp.go.th

ชวัลนุช อุทยาน. (2561). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://touristbe haviour.wordpress.com

ณัฐชนก เพชรพรหม. (2562). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior). ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565, จาก http://www.elearning.msu.ac.th

ธนะวิทย์ เพียรดี. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม: กรณีศึกษาบ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 24 – 38.

นัชชา ทิพเนตร. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการ พัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8) 395-396.

ปฐมภัทร พรหมบุตร. (2562). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของศูนย์บริหารนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. School of Administrative Studies Academic Journal, 2 (2), 15 – 23.

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2561).การจัดการการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 8.) กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

รุ่งราตรี อึ้งเจริญ .(2562). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 22-35.

วรรณพร วณิชชานุกร. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ศศิวิมล เลิศสุรัตน์. (2559). แนวทางการท่องเที่ยวพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารการท่องเที่ยว, 8 (1), 22-48.

อภิชัย พันธเสน. (2563). การเปลี่ยนแปลงและการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. (2564). รู้จักอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. ค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2565, จาก https://www.khaoyainationalpark.com/about/get-to-know

Adriana Tisca, I., Istrat, N., Dumitrescu, C.D. and Cornu, G. (2018). Management of sustainable development in ecotourism. Case Study Romania. Procedia Economics and Finance, 39, 427-432.

Benjamin, S., Dillette, A. and Alderman, D.H. (2020). We can’t return to normal: committing to tourism equity in the post-pandemic age. Tourism Geographies, 22(3), pp.476-483.

Casado-Aranda, L.A., Sánchez-Fernández, J. and Bastidas-Manzano, A.B. (2021). Tourism research after the COVID-19 outbreak: Insights for more sustainable, local and smart cities. Sustainable Cities and Society, 73, 103126.

Coria, J.and Calfucura, E. (2018). Ecotourism and the development of indigenous communities: The good, the bad, and the ugly. Ecological Economics, 73, 47-55.

Ceballos Lascurain. (2016). Tourism, eco-tourism, and protected areas. In Kusler, (ed.) Ecotourism and Resource Conservation. Eco-tourism and resource conservation project.

Dima, C., Burlacu, S. and Buzoianu, O.A.C. (2020). Strategic Options for the Development of Ecotourism in the Danube Delta in the Context of Globalization. In SHS Web of Conferences, 74, 4005.

Duffy, R. (2018). Neoliberalising nature: Global networks and ecotourism development in Madagasgar. Journal of Sustainable Tourism, 16(3), 327-344.

Elizabeth Boo. (2018). Ecotourism: The Potentials and Pitfalls. Washington D.C.: World Wildlife Fund-US.

International Labour Office. (2017). Participation by Employers’ and Workers’ Organization Economic and Social Planning. Geneva: International Labour Office.

Krungthai Compass. (2020). เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน. Retrived September 25, 2565, from https://krungthai.com

United Nations. (2015). Development of international economic and social affairs: Popular participation as a strategy for promoting community level action and national development report of the meeting or the ado group of experts held at UN. New York: United Nation.