การบริหารองค์การแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบและประเมินรูปแบบของการพัฒนาการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างยั่งยืน 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับการพัฒนารูปแบบ จำนวน 18 คน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการสร้างคู่มือการพัฒนาการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สู่การปฏิบัติได้จริงมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางการนำจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า รูปแบบการพัฒนาการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีขั้นตอนดังนี้ 1) เลือกตัวอย่างรูปแบบการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 2) ศึกษาและกำหนดบริบทองค์กร และเงื่อนไข ที่มีอยู่ขององค์กร 3) จัดทำกลยุทธ์องค์กรตามองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ 4) การนำกลยุทธ์ที่ได้กำหนดไว้ตามองค์ประกอบมาปฏิบัติ 5) การควบคุมและประเมินผลตามองค์ประกอบทั้ง 8 องค์ประกอบที่ได้กำหนดเป็น
กลยุทธ์ และ จากนั้นนำผลตอบรับไปพัฒนา และปรับปรุง 6) หากองค์กรได้มีการประเมินผลแล้วยังไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือยังไม่เข้าเกณฑ์ กำหนดให้กลับไปวิเคราะห์กลยุทธ์ใหม่ 7) หากประเมินผลแล้วเป็นที่น่าพอใจ หรือเข้าเกณฑ์กำหนดแล้วองค์กรจะ สามารถพัฒนาและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนต่อไป
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซส มีเดีย.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ทศวรรษ ยอมใหญ่. (2558). แบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการสร้างคุณค่าร่วมของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ จำกัด.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). การตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ. เชียงใหม่: เชียงใหม่ล้านนา.
เรวัต ตันตยานนท์. (2558). ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/631298
วรพรรณ เอื้ออาภรณ์. (2557). การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาสู่การสร้างค่านิยมร่วมระหว่างองค์กรธุรกิจกับชุมชน. วารสาร TPA News,205, 22-24.
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย.(2560).โครงการติดตามผลกระทบและแนวทางการปรับตัวของอุตสาหกรรมเหล็ก. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก http://www.isit.or.th.
อนันต์ชัย ยูรประถม. (2556). แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
อัญญา ขันธวิทญ์. (2552). ตัวแบบจำลองสำหรับจัดให้มีการกำกับดูแลกิจการและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัญญา ขันธวิทย์ และคณะ. (2552). การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
Zenisek, T. J. (1979). Corporate social responsibility: A conceptualization based on organizational literature. Academy of Management Review, 4, 359-368.