การดำเนินชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านหนองสาหร่าย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ศุภาพิชญ์ ศิริพร ณ ราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองสาหร่าย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) เสนอแนะแนวทางการดำเนินชีวิตไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำชุมชนและสมาชิกภายในชุมชนบ้านหนองสาหร่าย จำนวน 7 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและตีความหมาย


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านหนองสาหร่าย เป็นชุมชนที่มีการใช้ชีวิตที่ปกติเรียบง่าย เปิดใจรับความรู้ใหม่ ๆ สมาชิกในชุมชนมีการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีความสามารถพึ่งพาตนเองได้ปลูกพืชผักเพื่อการบริโภคแลกแจกจ่ายกันภายในชุมชน มีการรวมตัวกันทำกิจกรรมในชุมชน และผู้นำชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติร่วมกับสมาชิกในชุมชน 2) ปัญหา ประกอบด้วย (1) การมีหนี้สิน ต้นทุนการผลิตสูงและขั้นตอนยุ่งยากทำให้การลงทุนไม่คุ้มค่า (2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับประสบการณ์ที่มีมาใช้ไม่ได้กับความต้องการในปัจจุบัน (3) ไม่มีตลาดในการรองรับผลผลิต การตัดราคาของผลผลิต 3) ข้อเสนอแนะ ชุมชนมีความต้องการพัฒนาระบบการทำนาที่มีความทันสมัยเพื่อสอดคล้องกับยุคเกษตรกรรม 4.0 ทั้งด้านความรู้ ด้านเทคโนโลยี การแปรรูป และการทำตลาดเองของชุมชน อีกทั้งความต้องการตลาดกลางของชุมชนในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในชุมชนหนองสาหร่ายเพื่อตัดการค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย. (2565). สถิติจำนวนประชากร. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

คมเขต เพ็ชรรัตน์ วันดี พินิจวรสิน และอรศิริ ปาณินท์ (2561). การอนุรักษ์และสร้างสรรค์หัตถกรรมจักสานของศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 198-212.

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย. (2550). รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2551: เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: คีน พับบลิชชิ่ง (ประเทศไทย).

ชุติมา บริสุทธิ์. (2553). การนำหลักปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2561).ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนล่าง1 ในบริบท ประชาคมอาเซียน.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(4),78–87.

นพพล วงศ์ศรีสังข์. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลรามาธิบดี(วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิศารัตน์ ศิลปะเดช. (2539). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาประชากรกับคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: พิศิษฐ์.

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ปิติณัช ไศลบาท. (2550). การจัดการฐานทรัพยากรและโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านนาฝาย ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริศนา ตันติเจริญ. (ม.ป.ป). เรียนรู้ความพอเพียงจาก“พ่อ”ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ค้นเมื่อ 2 เมษายน2565, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER15/DRAWER052/GENERAL/ DATA0000/00000261.PDF

ปรียานุช พิบูลสราวุธ และคณะ. (2546). กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2548). 12 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์: ความหมาย การวัด. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

วิชญศากรณ์ วีระพันธุ์. (2550). การดำเนินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: ศึกษากรณีบ้านบัวงามตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546.) กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สายสมร สังข์เมฆ. (2559). การจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในชุมชนเกาะยาวใหญ่จังหวัดพังงา. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3), 26 -35.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2544). “เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ" ในใต้เบื้องพระยุคลบาท. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มติชน.

Elkin, F. & Handel, G. (1983). The Child and Society: The Process of Socialization. New York: Random House.