กระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านผู้ส่งสาร (Sender) จะต้องเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในศาสตร์วิชาที่ทำการเผยแพร่ โดยเฉพาะสื่อบุคคลเพราะเป็นสื่อที่มีความสำคัญมากต่อการนำเสนอเนื้อหาที่ผู้รับสารสามารถนำสิ่งที่ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์ได้ 2) เนื้อหาของสาร (Message) พบว่า เนื้อหาของสารที่เผยแพร่ ควรเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ 3) ด้านช่องทางสาร (Channel) พบว่า ช่องทางของสาร ควรเป็นการนำเสนอด้วยวีดีโอที่นำเสนอผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ที่ผู้รับสารเข้าถึงมากที่สุด ซึ่งอาจใช้เป็นการสำรวจถึงการเข้าสู่แอปพลิเคชันที่ผู้รับสารนิยมใช้ 4) ผู้รับสาร (Receiver) พบว่า ผู้ส่งสารควรเป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสารที่ใช้น้ำเสียงที่ไม่ราบเรียบ ต้องชวนให้น่าสนใจตั้งแต่เปิดประเด็นเนื้อหา เพราะผู้รับสารส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่น และมีความสนใจที่ต่างกันออกไป ควรทำการสำรวจก่อนว่าเนื้อหาประเด็นใดที่ผู้รับสารสนใจ ผลจากการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในการนำผลการศึกษาที่ได้ ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรรณิกา นาราษฎร. (2564). กระบวนการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(1), 17-24.
บุญคง สีเสน และคณะ. (2559). กระบวนการสื่อสารแนวพุทธเพื่อพัฒนางาน ประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 3(3), 159-171.
มณีวรรณ ฉัตรอุทัย. (2551). แนวคิดและหลักการบริหารคนเพื่อผลงาน. กรุงเทพฯ: วีเจ.พริ้นติ้ง.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2565). ประวัติมหาวิทยาลัยบูรพา. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2566, จาก http://www.buu.ac.th/ th/index.php? link=layoutbuu.php
เมธาวิน สารายาน. (2564). การสร้างสรรค์สื่อวีดิทัศน์เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ, 11(1), 1-12.
ไมตรี บัวศรีจันทร์, เอกนฤน บางท่าไม้. (2559). สภาพความต้องการและแนวทางในการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับบุคลากรภายในสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 470-482.
ลักษณา สตะเวทิน. (2554). สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.
สุดศิริ หิรัญชุณหะ, หทัยรัตน์แสงจันทร์, ประณีต ส่งวัฒนา และวงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. (2550). สมรรถนะทางวัฒนธรรมทางการพยาบาล: องค์ความรู้สู่ภาคปฏิบัติ. วารสาร สภาการพยาบาล, 22(1), 9-27.
เสริมศรี สามารถกิจ. (2551). ความคิดเห็นของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อระบบบริการการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุทิศ บำรุงชีพ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจ สภาพปัญหา และความต้องการของนิสิตที่มีต่อการบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 2(1), 175-187.
เอกนฤน บางท่าไม้. (2555). หลักการประชาสัมพันธ์ เอกสารคําสอนวิชา 468208 ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Berlo, David K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.
Escalada, M., & Heong, K. L. (2014). Focus group discussion. Research Gate Journal, 3, 178.