การปฏิบัติตามนโยบายการบริหารจัดการแรงงานประเทศไทยไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ

Main Article Content

พิมพ์ธาดา วรรัฐธนพัชร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติตามนโยบายบริหารจัดการแรงงานประเทศไทยไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ 2) ปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติตามนโยบายบริหารจัดการแรงงานประเทศไทยไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี และ 3) เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายบริหารจัดการแรงงานประเทศไทยไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวบข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน คือบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบาย และแรงงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบาย คัดเลือกโดยวิธีแบบการแนะนำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการจัดประเภทข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า 1) การปฏิบัติตามนโยบายบริหารจัดการแรงงานประเทศไทยไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบจ้างแรงงานต่างชาติ พบว่า มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ เปิดรับสมัครและทดสอบความสามารถด้านภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน รับสมัครไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับผู้สอบผ่าน
ทำการคัดเลือกและทำสัญญาจ้างงาน อบรมก่อนเดินทาง ยื่นและรับวีซ่า และจัดส่งแรงงานเดินทางไปทำงาน
2) ปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติตามนโยบายการบริการจัดการแรงงาน พบว่าจะเป็นปัญหาการบริหารจัดการแรงงานในทางปฏิบัติ ปัญหาการจัดส่งแรงงานเชิงระบบ ปัญหาด้านแรงงานไม่ได้รับการเรียกตัวจากนายจ้าง และปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย และ 3) เสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแรงงานที่มีความสนใจไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี เช่น คุณสมบัติ ขั้นตอนการคัดเลือก ระยะเวลาการคัดเลือก และการคัดเลือกจากนายจ้าง รวมถึงผลักดันให้แรงงานไทยได้รับความคุ้มครองจากสิทธิประโยชน์ที่แรงงานควรได้รับ ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวรรณ สาสิงห์ และอนันต์ โพธิกุล. (2559). การบริหารปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายตามนโยบายของภาครัฐในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 3(2), 44-54.

ดวงฤทัย สังข์ทอง. (2554). ยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของเกาหลีใต้ในยุคโลกาภิวัตน์เชิงเสรีนิยมใหม่: ศึกษากรณี บันทึกความเข้าใจด้านแรงงานระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยธิดา ตรีเดช, สมชาติ โตรักษา และพีระ ครึกครื้นจิตร. (2552). หลักการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น.

ประพันธ์ ดิษยทัต. (2558). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล เรื่อง ปัญหาแรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีใต้. การฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 7 ปี 2558. กระทรวงการต่างประเทศ.

พรศิริ ทรงลักษณ์. (2562). การปฏิบัติงานตรวจสอบคนหางานที่ลักลอบเดินทางไปทำงานในต่างประเทศด่านตรวจคนหางานดอนเมือง ภายใต้นโยบายกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มติชนออนไลน์. (2561). แรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลี: โดย สรวุธ ไพฑูรย์พงษ์. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1108170

มยุรี อนุมานราชธน. (2556). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วิจิตร ประพงษ์. (2561). การย้ายถิ่นแบบชั่วคราวแต่ยาวนานของแรงงานไทยแบบผิดกฎหมายในฝรั่งเศส. วารสารพัฒนศาสตร์, 1(2), 206-240.

เวย์แมกกาซีน. (2564). เกาหลีไม่ได้มีแค่ LISA ส่องตัวเลขของ ‘ผีน้อย’ แรงงานไทยอีกนับแสนในดินแดนกิมจิ.

ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://waymagazine.org/thai-workers-in-south-korea

วรเดช จันทรศร. (2559). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักข่าวอิศรา. (2561). A Study of Thai ‘Illegal worker’ in South Korea วิทยานิพนธ์ตีแผ่แรงงานผีน้อยในเกาหลี. ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/neq3D

สำนักข่าวอิศรา. (2563). INFO: สถิติคนไทย/แรงงานไทยอาศัยในเกาหลีใต้. ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/HcArU

อัจฉรา เจริญผล. (2543). การนำนโยบายส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศไปปฏิบัติในประเด็นป้องกันการหลอกลวงคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานระดับจังหวัด. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/Search Detail/106842

อมรวรรณ ศรีชูเปี่ยม. (2550). รัฐไทยกับการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีแรงงานประมง จังหวัดสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hanson, G. H. (2006). Illegal Migration from Mexico to the United States. Journal of Economic Literature, 44(4), 869–924.

Kanika Ussasarna, & Penchan Pradubmook-Sherer. (2020). Becoming “the Little Ghost”: The Social and Cultural Construction of Illegal Thai Migrant Workers in South Korea. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 12(10), 338-352.

Skiba, R. (2020). Psychological and Sociological Factors Impacting on Migrant Worker Contribution to, and Adaptation of, Workplace Safety Culture. Open Science Journal, 5(2), 1-10.

Straub, J. T. & Attner, R. F. (1985). Introduction to business. (2nd ed.). Boston: Kent.