รูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการพัฒนาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

Main Article Content

พระอดิศร แก่นมะนิตัน
ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง
สโรชินี ศิริวัฒนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการพัฒนาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าอาวาส หรือรองเจ้าอาวาสของวัดในคณะสงฆ์จีนนิกาย พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวแทนพุทธศาสนิกชน และนักวิชาการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 20 รูป/คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการพัฒนาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานคือ การให้คำปรึกษาในรูปของคณะกรรมการด้านการก่อสร้าง การบูรณะวัด กฎหมายต่าง ๆ การศาสนศึกษา การสร้างความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานแก่พุทธศาสนิกชน ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม และการดำเนินงานต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานอย่างเสมอภาค จัดตั้งชมรมหรือสมาคมเพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัฒนธรรมจีนอย่างเป็นรูปธรรม และเพิ่มช่องทางการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่หลากหลาย เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูป เว็บไซต์ แผ่นพับ
เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. 2551-2555. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/2824

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2547). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา บุตรรัตน์. (2561). แนวคิดพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในสังคมไทย: กรณีศึกษาการสร้างพระพุทธรูป. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1),18-30.

ประภาศ ปานเจี้ยง, ยุวัลดา ชูรักษ์ และฉัตรจงกล ตุลนิษกะ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านพรุ เขต 2 ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. หน้า 962-973. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 พลวัตการศึกษายุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล. 20 – 21 กรกฎาคม 2561. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พระครูถาวรกิตติธรรม, กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ และรัตนะ ปัญญาภา. (2562). รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(ฉบับเพิ่มเติม), 1-15.

พระปรีชา เถี่ยนกือ (โพธิ์เงิน). (2561). แนวทางการเสริมสร้างความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานตามแนวพุทธจิตวิทยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา กรณีศึกษาเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(1), 457-478.

พระพรหมโมลี (วิลาศ าณวโร ป.ธ. 9). (2546). วิปัสสนาวงศ์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

พระเริ่ม ไขตะขบ, นลินทิพย์ พิมพ์กลัด และกิ่งแก้ว ปะติตังโข. (2560). แนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชน .นการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1895-1907.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2556). พุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมหายาน. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/mahayana41.html

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์.

Cohen, J. M. & Uphoff, T. (1977). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Published by the rural development committee center for international studies Cornell University. New York: Cornell University.

Goodman, L. & love, R. (1980). Project Planning and Management: An Integrated Approach. New York: Pergamon Press.