ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของ องค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อาชิรญาณ์ เจียประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรที่มาใช้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา จำนวน 390 คน ได้จากเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน T-test,
F-test และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่
ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการให้บริการที่เสมอภาค ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ตามลำดับ และ 2) การเปรียบเทียบข้อมูลทางประชากรศาสตร์ต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พบว่าประชาชนที่มีเพศ และอาชีพที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการไม่แตกต่างกันส่วนประชากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ แตกต่างกันมีความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกเมฆ มีรัตน์คำ. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีการให้บริการของฝ่ายทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน สำนักทะเบียนอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จิราภรณ์ มากสวัสดิ์. (2558). ความพึงพอใจของผู้ใช้น้ำประปาที่มีต่อการให้บริการของการประปา ส่วนภูมิภาคสาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ .

ชวลิต สละ. (2556). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณวัศพล พานทอง. (2561). ความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลท่าข้าม จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2536). การบริหารงานพัฒนาชนบท การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาสภาตำบล: สาเหตุและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สกุณา เจริญกล้า. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วน ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุเมธ เมฆาวณิชย์. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารี ร่มโพธิ์ชี. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการออกบัตรประจำตัว ประชาชนของอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Millet, J.D. (1954). Management in the public service. the quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.

Vroom, V. H. (1984). Work and motivation. Florida: Robert E, Krieger Publishing.