ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

อมร นันทาภิรมย์
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
สโรชินี ศิริวัฒนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 273 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา 2019 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการปรับตัว มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเรียนแบบใหม่ และด้านความพร้อมในการเรียนออนไลน์ ตามลำดับ และ 2) การเรียนแบบใหม่ การปรับตัว และความพร้อมในการเรียนออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ สามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ในการสนับสนุน ส่งเสริม ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ และพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และทำให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1- A6.

ณิชกานต์ แก้วจันทร์ และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2564). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและความคาดหวังประสิทธิผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ในทรรศนะของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฤตพงษ์ ไชยวงศ์. (2558). ความพร้อมในการจัดป่าชุมชน กรณีศึกษาคณะกรรมการหมู่บ้าน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2563). แผนบริหารความเสี่ยงและแผนการควบคุมภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, จุรีย์ นฤมิตเลิศ และกิติยา สมุทรประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7(1), 13 – 27.

รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 1(1), 1-5.

ลัดดาวัลย์ คงสมบูรณ์. (2563). ความพร้อมในการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(2), 186-197.

สยามรัฐออนไลน์. (2564). เปิดไทม์ไลน์ต้นตอโควิดโลก-โควิดไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/148697

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203 – 213.

Ali, N. H. & Rosli, R. A. H. M. (2019). Digital technology: E-content development using Apple technology. Malaysian Journal of Distance Education, 21(1), 83-94.

Bernard, H. W. (1960). Mental health for classroom. New York: McGraw-Hill.

Gibson. J. L. (2000). Organizations Behavior (7th ed.). Boston: Irwin.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Education Administration: Theory Research Practice (4th ed.). New York: McGraw - Hill.

Lahaderme, Henriette M. (1968). Attitudinal and Intellectual Correlates of Attention: A Study of Four Sixth-Grade Classrooms. Journal of Educational Psychology, 59, 320-324.

Office of the Higher Education Policy, National Science, Research and Innovation Council. (2020). Recovery Forum: School Reopening and Teacher Empowerment to Cope with the Next Normal in Education. Retrieved October 19, 2021, from https://www.nxpo.or.th/en/4856/

Wongyai, W., & Patphol, M. (2020). Learning Design for the New Normal. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.