รูปแบบประสิทธิผลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงิน

Main Article Content

ธวัช ไทรราหู
ทวี แจ่มจำรัส
ดำรงค์ ชลสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของประสิทธิผลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงิน สิทธิของเจ้าของข้อมูล นโยบายภาครัฐ พฤติกรรมของสถาบันการเงิน และการกำกับดูแลของสถาบันการเงิน 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของสิทธิของเจ้าของข้อมูล นโยบายภาครัฐ พฤติกรรมของสถาบันการเงินและการกำกับดูแลของสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงิน 3) นำเสนอรูปแบบประสิทธิผลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงิน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลของสถาบันการเงินในสังกัดสมาคมธนาคารไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสมาคมธนาคารไทย เจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมจำนวน 17 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทาง สิทธิของเจ้าของข้อมูล นโยบายภาครัฐ พฤติกรรมของสถาบันการเงิน และการกำกับดูแลของสถาบันการเงิน อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด 2) นโยบายภาครัฐ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อประสิทธิผลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินมากที่สุด รองลงมา ตามลำดับได้แก่ พฤติกรรมของสถาบันการเงิน การกำกับดูแลของสถาบันการเงิน และสิทธิของเจ้าของมูล 3) รูปแบบประสิทธิผล นำเสนอเป็นลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย นโยบายภาครัฐที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด พฤติกรรมของสถาบันการเงิน และการกำกับดูแลของสถาบันการเงินอยู่ตรงกลาง และสิทธิของเจ้าของข้อมูลอยู่ในระดับบน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กริน ธัญญวิกรม. (2564). การจัดการความมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษา การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ไทย. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(3), 371-386.

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2562). การคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการทำสัญญา แบบสมาร์ท: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยุโรป. วารสารรัชต์ภาคย์ ,14(34),125-139.

พนิดา พูลสวัสดิ์. (2556). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภาระวี ปุญเสรีพิพัฒน์. (2561). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลบนธุรกิจกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ศึกษากรณีการใช้คุกกี้บนอินเตอร์เน็ต.วารสารนิติศาสตร์, 7(1), 166 – 193.

สมาคมธนาคารไทย. (2564). แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาคธุรกิจธนาคารสมาคมธนาคารไทย. นนทบุรี: สมาคมธนาคารไทย.

Azuwa, M. P. et al. (2012). Technical Security Metrics Model in Compliance with ISO/IEC 27001 Standard. International Journal of Cyber-Security and Digital Forensics (IJCSDF), 1(4), 280-288.

Lubis, M., Kartiwi, M. & Zulhuda, S. (2018). Privacy and personal data protection in electronic voting: factors and measures. Telkomnika, 15(1), 512-521.

Rosmaini, E., Kusumasari, T. F., Lubis, M. & Lubis, A. R. (2018), March. Study to the current protection of personal data in the educational sector in Indonesia. Journal of Physics: Conference Series ,978(1), 12 -37.

Sariahu, T. (2019). Factors Influencing Electronic Personal Data Protection Management and Development of Financial Institutes in Thai Banking Association. International Academic Multidisciplinary Research Conference in Los Angeles 2019. Los Angeles, United State of America 11 - 13 December 2019, 36-40.