การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557-2565

Main Article Content

พรเทพ สุขชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557-2565 2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557-2565 และ 3) สร้างตัวแบบในการเข้าใจการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บตัวอย่างผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คนคัดเลือกแบบวิธีการสุ่มแบบมีระบบ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุที่มีบทบาทสำคัญในชุมชนจำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557-2565 อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ปัจจัยด้านรายได้ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่ม ภาพรวมแตกต่างกัน เป็นไปตามสมติฐาน
ส่วนด้านเพศ อายุ ศาสนา การศึกษา สถานภาพสมรส การเป็นสมาชิกการเมือง ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมติฐานและ 3) เป็นรูปแบบของวัฎจักรคือ เมื่อผู้สูงอายุได้มีการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมืองทำให้เกิดการอภิปรายแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อออนไลน์และได้นำความรู้ที่ตนเองมีด้านการเมืองเผยแพร่สู่ชุมชนเพื่อนำไปสู่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนทำให้นำไปสู่การชุมนุมทางการเมืองและวนกลับมาที่การติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมืองจนกลายเป็นรูปแบบวัฎจักรการเข้าใจการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก https://www.dop. go.th/th/know/side/1/1/1159

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566, จาก http://www.dop.go.th

ชัชชาติ สิทธิพันธ์. (2565). รู้จัก "สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์" พร้อมส่อง 5 เขต กทม. มีคนสูงวัยมากที่สุด. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1022359

โชติกา สิงหาเทพ ธนิกานต์ ศรีจันทร์ และเสวนีย์ จันทสังข์. (2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาพอเพียงตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทรงยศ รุ่งมณี. (2558). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลจังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

นัฏฐิกาล ศรีจันทร์โท. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาภู อำเภอยาวสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 91-99.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2555). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ: พริ้นตจิ้งฮอลล์.

บรรลุ ศิริพานิช. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญตา ไล้เลิศ. (2550). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลอยพรรณ เชี่ยวชาญ. (2559). บทบาทผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

พระสุดรักษ์ วิสุทโธ (รักษ์เมือง). (2560). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชนในตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2541). ชนชั้นกับการเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2550). วัฒนธรรมการเมือง: โครงสร้างความคิดเชิงปฏิบัติการเลือกตั้ง. เอกสารการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 9 เรื่องวัฒนธรรมการเมือง จริยธรรม และการปกครอง. กรุงเทพฯ: แก่นจันทร์.

พิสิษฐ์ วงศารัตน์ศิลป์. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิต ทางสังคมศาสตร์, 7(1), 190-202.

ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่.

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม: เดือนตุลา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). สถิติประชากรและบ้าน-จำนวนประชากรแยกรายอายุ [Official statistics population and household registration system]. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2565, จาก http://stat.dopa.go.th/statnew/upstat_age.php

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/ know/side/1/1/1099

Burikun, T. (2009). Political participation for Thai citizens in a democratic system from the first constitution to the constitution of B.E.2550. Bangkok: King Prajadhipok’s institute.

Sribuaiam, K. (2002). Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540: Problems, obstacles, and solutions. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.

United Nations. (2019). Department of Economic and Social, Population Division. World Population Prospects The 2019. New York, USA: United Nations.

United Nations. (2019). 2019 UNIDOP Celebrates “The Journey to Age Equality”. Retrieved July 11, 2022, from https://www.un.org/development/desa/ageing/international-day-of-older-persons-homepage/2019unidop.html

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3th ed.). New York: Harper and Row Publication.