การทำโครงการเล่านิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสร้างโอกาสให้เด็กได้พบเจอความหลากหลายของวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก ผ่านเรื่องราวที่สอนค่านิยม จริยธรรม และจริยธรรมทางสังคม นิทานมีเรื่องราวที่สอนให้เด็กเห็นความสำคัญของความรับผิดชอบ ความเป็นธรรม ความอดทน และคุณค่าทางจริยธรรมอื่น ๆ ที่สำคัญในชีวิตประจำวัน บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำโครงการเล่านิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ความสำคัญคือจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาษาอังกฤษทางการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย และช่วยสร้างความสนใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ดังนั้นพบว่า การเล่านิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย มีความสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมพัฒนาทางภาษา ความคิด จินตนาการ คุณธรรม และจริยธรรมให้กับเด็ก โดยผสมผสานองค์ความรู้ความคิดรวบยอด และทักษะมาบูรณาการเชื่อมโยงให้เข้ากับประสบการณ์ จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างความสนใจในนิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษ เด็กจะได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ การสร้างประโยค และการเขียนเรื่องราวตามแบบอย่างที่ได้ยินจากนิทาน และช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและความเข้าใจเนื้อหา และสร้างความสุขในการอ่านและการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2541). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
เกริก ยุ้นพันธ์. (2539). การเล่านิทาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
จิราพร ปั้นทอง. (2550). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการเชิดหุ่นมือ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฉวีวรรณ กินาวงศ์. (2542) .การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ชุติมา ประจวบสุข. (2556). การศึกษาพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมนิทาน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณญาดา ณ นคร. (2564). นิทานกับการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.scimath.org/article-science/item/12350-2021-07-01-05-39-54
ดวงเดือน แจ้งสว่าง. (2542). นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. สงขลา: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา.
ทัศนีย์ สงวนสัตย์. (2542). ของฝากครูอังกฤษ. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
ธันยา พิทธยาพิทักษ์. (2553). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีสหบท และแนวการสอนอ่านโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา วรรณกิตร์. (2562). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: อินทนิล.
บังอร ศรีกาล. (2553). ผลการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชรี สวนแก้ว. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการและการดูแลเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
พัณณ์ชิตา สิรภัทรศรีเสมอ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพที่มีต่อการรับรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
มานพ ถนอมศรี. (2546). ศิลปะสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สิปประภา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุธากร วสุโภคิน รวี ศิริปริชยากร สุดารัตน์ พงษ์พันธ์ และธนพรรณ เพชรเศษ. (2563). เอกสารประกอบการเรียน 1072318: นิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
สุนิสา สุพรรณ. (2540). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติสำหรับนักศึกษาคหกรรม (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อารี พันธ์มณี. (2546). ฝึกให้คิดเป็นคิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ใยไหมเอดดูเคท.
อารี สัณหฉวี. (2543). พหุปัญญาและการเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.
Bromley, K. D. (1992). Language arts: Exploring connections. (2nd ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Clifford, F. G., & Larson, E. W. (2000). Project management: the managerial process. New York: McGraw-Hill.
EdTech for Kids. (2566). "Soft Skill1" ทักษะสำคัญในศตวรรษที่21 ที่สามารถพัฒนาได้ในชั้นเรียน. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.edtechbooks.com/th/articles/275106-soft-skills
Fisher, C. J., & Terry. C. A. (1990). Children's language and the language arts: A literature-based approach. (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw- Hill.
Turner, J. R. (1993). The Handbook of Project-based Management: Improving the Processes for Achieving Strategic Objectives. London: McGraw-Hill.
Mantel, S. J., Jr. (2001). Project Management in Practice. New York: John Wiley and Sons, Inc.