ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร ที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง

Main Article Content

บุณยกร อุทัย
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร ที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านศุลกากรกับความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 324 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามแบบของเพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง มีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารไม่แตกต่างกัน และ 3) ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านศุลกากรมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศุลกากร. (2561). ของต้องห้ามหรือต้องมีใบอนุญาต ในการนำเข้า/ส่งออก. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.customs.go.th/cont_strc_simple.php?ini_content=business_160426_03_160930_01_160930_01

กระทรวงการคลัง. (2562). กรมศุลกากรให้ข้อมูลกรณีการนำเข้าของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอากาศยาน. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.mof.go.th/view/attachment/file/3131303531/190719%20ก.คลัง30_กรมศุล_มติชน%20(final).pdf

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). ทอท. มั่นใจปีนี้ผู้โดยสารดอนเมืองฟื้น 20 ล้านคน ลุ้นตลาดจีนหนุนเพิ่ม.ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1052055

โชคชัย เดชรอด. (2564). การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(4), 53-66.

ธัญนุช มานะชัยมงคล. (2563). ความรู้ความเข้าใจในการยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา กรณีศึกษา ประชากรพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธัญลักษณ์ วงษ์ศรีเผือก. (2563). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2563 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2565). แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565 (แบบ 56-1 One Report). ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก https:// investor.airportthai.co.th/misc/ one-report/20221223-aot-one-report-2022-th.pdf

ประกาศกรมศุลกากร เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนเองทางท่าอากาศยาน. (2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 86, หน้า 14-18.

ปัทมาภรณ์ พงศ์พัฒนไพศาล. (2558). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) (การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรรณชญาน์ ศิลประเสริฐ. (2560). ความรู้ความเข้าใจในการชำระภาษีท้องถิ่นของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตเทศบาลตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 53 ก, หน้า 26-79.

ภัทรวรรณ สิทธิสมบัติ. (2562). ระดับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของผู้โดยสารเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรขาเข้าสำหรับของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอากาศยาน และทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาดา สุขสวัสดิ์. (2558). ความรู้ ความเข้าใจของผู้เสียภาษีอากรที่มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย) (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.).New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Hospers, J. (1967). An Introduction to Philosophical Analysis. U.S.A.: Prentice-Hall.

Klapper, J.T. (1960). Effects of mass communication. New York: Free Press.