การพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากสารสกัดเนื้อผลมะขามป้อมในรูปแบบกัมมี่

Main Article Content

ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์
รุ่งรัตนา เจริญจิตต์
ณัฏฐชัย เอกนราจินดาวัฒน์
ณัฐริกานต์ แก้วโกลฐาฏ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และความต้องการของผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะขามป้อมในรูปแบบกัมมี่ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะขามป้อมในรูปแบบกัมมี่ 3) เปรียบเทียบระดับสภาพผิวหน้าก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ จากสารสกัดมะขามป้อมในรูปแบบกัมมี่ และ 4) ประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการวิเคราะห์สภาพปัญหา ระยะที่ 2 ขั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากสารสกัดเนื้อผลมะขามป้อมในรูปแบบกัมมี่ ระยะที่ 3 ขั้นตอนการทดลองใช้ และระยะที่ 4 ขั้นการประเมินผล ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบข้อมูลสีผิว ความกระจ่างใส ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการวิจัย โดยใช้สถิติ Paired t-test 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มะขามป้อมในรูปแบบต่าง ๆ แต่มีความเปรี้ยวทำให้ไม่ได้รับความนิยมมาก 2) ผลการพัฒนาได้ผลิตภัณฑ์กัมมี่ที่ผสมน้ำมะขามป้อมเข้มข้นและสารสกัดอื่น ๆ ที่มีคุณค่าโภชนาการ 3) การทดลองแสดงผลแสดงถึงปรับปรุงทั้งด้านความขาวและคะแนนสวยงามที่มีความสำคัญทางสถิติ 4) คุณภาพและความพึงพอใจในการใช้งานได้รับความพอใจมากถึงปานกลางโดยอาสาสมัครเป็นหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา ทินกร ณ อยุธยา และนัทมน พุฒดวง. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่ธัญพืชเพื่อสุขภาพ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 11(1), 13-20.

เจาะระบบสุขภาพ, (2018). กรมวิทย์ฯ วิจัย ‘สารสกัดจากมะขามป้อม’ ลดริ้วรอย บำรุงผิว เตรียมผลิตเชิงพาณิชย์. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก https://www.hfocus.org/content/2018/05/15875

น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป และคณะ. (มปป.) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่สมุนไพรที่มีฤทธิ์สารต้านอนุมูลอิสระ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก.

พัชรภัค สุริวงศ์ และริชาร์ด ฟง. (2022). สารเพิ่มชีวประสิทธิผลจากธรรมชาติ นวัตกรรมไซนิกส์. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2564, จาก http://www.AVS%20Cell%20Synapse™Thai_05032022.pdf

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2557). ทบทวนวรรณกรรมความรู้ทั่วไปของระบบผิวหนัง. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566, จาก Downloads/ม.เชียงใหม่.pdf

ศิมาภรณ์ มีแสง. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่รสมะนาววิตามินซีสูง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุกัญญา เขียวสะอาด, สรัญญา ชวนพงษ์พานิช และอัศวิน ดาดูเคล. (2563) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่จากสารสกัดดอกบุนนาค วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(12), 2185-2200.

อัญชลี พลอยเพ็ชร. (2558) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1), 71-82.

Borchard, W. & Lechtenfeld, M. (2001). Time dependent properties of thermoreversible gels. Mat Res Innovat 4, 381-387.

Briston, J. H. & Neill, T. J. (1972). Packaging Management. Essex UK: Gower Press.

Derma-health. (2565). อาหารเสริมรูปแบบ Jelly Strip คืออะไร. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จาก https://www.derma-health.co.th/content/28252/อาหารเสริมรูปแบบ-jelly-strip-คืออะไร

Doesburg, J. J. (1965). Pectic substances in fresh and preserved fruits and vegetables. Wageningen: Institute for Research on Storage and Processing of Horticultural Produce.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. (3rd ed.). New York: McGraw – Hill Book Inc.

Garcia, T. (2000). Analysis of Gelatin-Based Confections. The Manufacturing Confectioner, 80(6), 93-101.

Glicksman, M. (1969) Gum Technology in the Food Industry. American Journal of Analytical Chemistry, 8(11), 895-902.

Lees, R. & Jackson, E. B. (1973). Sugar Confectionery and Chocolate Manufacture. New York: Leonard Hill Books.

Pullar, J. M., Carr, A. C. & Vissers, M. C. M. (2017). The Roles of Vitamin C in Skin Health. New Zealand: Department of Pathology, University of Otago, Christchurch.

Rams_and_its_implications_for_organizations_and_management_education National Center for Metal and Materials Technology (2020). Strategies for doing Ecodesign. Retrieved December 26, 2023, from https://www.researchgate.net/publication/329008011The_ design _ethos_of_Dieter_

Santosh, H. N., & David, C. M. (2017). Role of ascorbic acid in diabetes mellitus: a comprehensive review. Journal of Medicine, Radiology, Pathology and Surgery, 4(1),1-3.

Spee, J. C. & McCormick, D. W. (2012). The design ethos of Dieter Rams and its implications for organizations and management education”. Article in Academy of Management Proceedings. Retrieved December 16, 2023, from https://www.researchgate.net/ publication/329008011_The_design_ethos_of_Dieter_Rams_and_its_implications_for_organizations_and_management_education

Woo, A. (1996). Use of organic acids in confectionery. The Manufacturing Confectioner, 78(8), 63-70.

Winton, A. L. & Winton, K. B. (1949). The Structure and Composition of Foods. vol. 3. (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons, Inc..