การศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และแรงจูงใจของข้าราชการ ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการ ฝูงบิน ก ในภาคกลาง

Main Article Content

เชษฐ์สกุล ยศพลสิทธิ์
ชนิดา จิตตรุทธะ
เฉลิมพร เย็นเยือก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยแรงจูงใจของข้าราชการ และความคิดสร้างสรรค์ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยแรงจูงใจของข้าราชการ กับความคิดสร้างสรรค์ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการฝูงบิน ก ในภาคกลาง จำนวน 106 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้าราชการส่วนใหญ่รับรู้ถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับสูง โดยเฉพาะในด้านการมีอิทธิพลทางอุดมการณ์ 2) ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีนัยสำคัญอย่างมากต่อความคิดสร้างสรรค์ในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการสร้างแรงบันดาลใจซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าระดับปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความคิดสร้างสรรค์ในทุกด้านที่ระดับนัยสำคัญ โดยด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดกับความคิดสร้างสรรค์ และมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะผู้นำที่มีการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยแรงจูงใจต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในบริบทองค์การที่มีความเฉพาะเจาะจง ผลลัพธ์จากการวิจัยนี้เป็นแนวทางที่มีค่าในการส่งเสริมการพัฒนาในองค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ข้าราชการไทย ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแรงจูงใจที่จะช่วยยกระดับความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลและมีประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงกลาโหม. (2560). ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนกลมโหม.

กองทัพอากาศไทย. (2560). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทัพอากาศ.

ฐิตวดี เนียมสุวรรณ์. (2554). รูปแบบภาวะผู้นำและแรงจูงใจภายในที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน กรณีศึกษา ธนาคารกรุงไทย จำกัดมหาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2560). วัฒนธรรมการทำงานและความเสี่ยงในราชการไทย. วารสารการจัดการราชการ, 5(2), 45-59.

รัตนา บรรณาธรรม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในกลุ่มข้าราชการที่สังกัดสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5), 915-924.

Amabile, T. M. (1983). The Social Psychology of Creativity: A Componential Conceptualization. Journal of Personality and Social Psychology, 45(2), 357-376.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.

Gibson, I. & Ponnelly. (1997). Motivation Theories and Their Implications for Organizational Behavior. Journal of Organizational Studies, 45(3), 213-228.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.

Ismi, N., Sarkum, S., & Ritonga, Z. (2021). Mediation Leader Member Exchange, Intrinsic Motivation, and Psychological Empowerment: The Influence of Ethical Leadership on Employee Creativity and Work Innovation. Budapest International Research and critics Institute-Journal, 4(3), 3803-3815.

Umam. A.K.R. (2022). The Influence of Transformational Leadership and Transactional Leadership on Motivation Moderated by Reward on Employee Performance (Study on Cv. Galaxy Mega Indah). International Journal of Review Management Business and Entrepreneurship (RMBE), 2(2), 36-46.