แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัดศูนย์การทหารราบ กองทัพบกไทย

Main Article Content

รชาเศรษฐ์ ศิระวรญาพัฒน์
ทวี แจ่มจำรัส
สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์
บวรพรรณ รัฐประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ และความสุขในการปฏิบัติราชการ 2) วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ และความสุขในการปฏิบัติราชการที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการทหารสังกัดศูนย์การทหารราบ กองทัพบกไทย จำนวน 360 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย กลุ่มระดับผู้บริหาร กลุ่มผู้บริหารระดับหัวหน้าหน่วย กลุ่มระดับชั้นสัญญาบัตร และกลุ่มระดับชั้นประทวน จำนวนทั้งสิ้น 18 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ แรงจูงในในการปฏิบัติราชการ และ ความสุขในการปฏิบัติราชการ อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) แรงจูงในการปฏิบัติราชการ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารมากที่สุด รองลงมาได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ และความสุขในการปฏิบัติราชการ ตามลำดับ และ 3) ได้แนวทางเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัด ศูนย์การทหารราบ กองทัพบกไทย มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีวัฒนธรรมองค์การและภาวะผู้นำองค์การ อยู่ตรงกลาง และความสุขในการปฏิบัติราชการนช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร ต้องประกอบด้วยความซื่อสัตย์ต่อองค์การ ความสามัคคีในองค์การ ความจงรักภักดีในองค์การและ ความทุ่มเทในการทำงาน ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อส่วนราชการในกรมกำลังพลทหารบก กรมสวัสดิการทหารบกใช้ประโยชน์ได้ ในการเป็นแนวทางด้านการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการสร้างความผูกพันของข้าราชการทหารให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณากร สุขคันธรักษ์ และชวนชื่น อัคคะวณิชชา. (2561). อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน กับองค์กรที่มีต่อความตั้งใจอยู่กับองค์กรผ่านความผูกพันของพนักงาน.วารสารบริหารธุรกิจ, 9(1), 18-32.

ชนัย ทองอู๋, อนุรักษ์ เรืองรอบ. (2563). ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล สังกัดกรมกำลังพลทหารบก. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(1), 61.

หฤทัย อาจปรุ, สินีนาฏ ลิ้มนิยมธรรม และปิยะวัฒน์ วงษ์วานิช, (2563) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ, วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 7(1), 79.

ธัญธิภา แก้วแสง และประสพชัย พสุนนท์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับ ความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์). วารสารวิชาการ Veridian E Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9,(3), 1260-1274.

นิทัศน์ ศิริ โชติรัตน์. (2559). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฐมชนก ศิริพัชระ และคณะ. (2558) ความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 163.

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2560). ความสุขของคนไทยในเขตชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภัทรดนัย ใต้ไธสง. (2561). ความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 15-35.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). คําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม แห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุชาต อดุลย์บุตร. (2561). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานและลูกจ้างองค์การ สงเคราะห์ทหาร ผ่านศึก.วารสารเกษมบัณฑิต, 1(19), 201-212.

อังศินันท์ อินทรกําแหง และคณะ. (2563). การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์กลุ่ม กําลังคนคุณภาพ:กรณีศึกษาระบบราชการไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 12(1), 56-73.

Allen, N. J. , & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, And normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(10), 1-18.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co.

Guzeller, C. O., & Celiker, N. (2019). Examining the relationship between organizational commitment and turnover intention via a meta-analysis. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 14(1), 102-120.

Hung, L. M., Lee, Y. S., & Lee, D. C. (2018). The Moderating Effects of Salary Satisfaction and Working Pressure on The Organizational Commitment to Turnover Intention. International Journal of Business and Society, 19(1), 103-116.

Milliman, J., Gatling, A., & Kim, J. (2018). The effect of workplace spirituality on hospitality employee engagement, intention to stay, and service delivery. Journal of Hospitality and Tourism Management, 35(6), 56-65.

Pratama, E. N., Suwarni, E., & Handayani, M. A. (2022). The Effect of Job Satisfaction and Organizational Commitment on Turnover Intention With Person Organization Fit As Moderator Variable. APTISI Transactions on Management (ATM), 6(1), 74-82.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46–56.