ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ
กันยา นภาพงษ์
พรพรรณ วรสีหะ
กนิษฐ์ โง้วศิริ
สุภาวดี เลิศสำราญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2563 จากสูตรคำนวณของ Taro Yamane ได้จำนวนทั้งสิ้น 121 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามตอบผ่าน
Google Form ตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 24 ปีขึ้นไป มีเกรดเฉลี่ยสะสมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 3.01–3.50 บัณฑิตส่วนใหญ่ได้รับการทบทวนบทเรียนเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือนถึง 2 เดือน นอกจากนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ผ่านครบ 8 วิชาในรอบแรก และปัจจัยที่มีอิทธิพล คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (GPA) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิต ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ สถาบันการศึกษาพยาบาลควรเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลักและควรมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาทุกชั้นปี รวมถึงควรจัดหาปัจจัยสนับสนุนทางการศึกษาต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนพร แย้มสุดา และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบรับรองคุณภาพบัณฑิตของวิทยาลัยพยาบาลกองทพเรือ.วารสารแพทย์นาวี, 43(2), 1-18.

ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล และคณะ. (2560). ผลของการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อความพร้อมและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 43-53.

วชรพร ชูผล. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแบบฮิวริสติกส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาดา คุณาวิกติกุล และคณะ (2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล, 27(3), 11-28.

วิลัยพร นุชสุธรรม และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย. พยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ), 61-72.

ศิริญญา คงอยู่. (2560). ปัจจัยทำนายผลการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 228-237.

สกาวเดือน โอดมี และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาลวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 4(1-2), 54-66.

สภาการพยาบาล. (2562). ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566, จากhttps://www.tnmc.or.th/ images/userfiles/files/2562(2).PDF

สภาการพยาบาล. (2565). รายชื่อสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง (สถาบันที่มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว). ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566, จาก https://www.tnmc.or.th/news/35

สภาการพยาบาล. (2567). การสมัครสอบความรู้ขอขึ้นทะเบียนฯ และสอบประเมินความรู้. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566, จาก https://www.tnmc.or.th/news/57

สันติชัย เทศวัตร. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเชคโกร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะรายวิชาการงานอาชีพ 3 เรื่องงานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อนุรี ชาญธวัชชัย และมนสภรณ์ วิทูรเมธา. (2560). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุและความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการเตรียมของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 92-106.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education (3rd Ed.). New York: McGraw-Hill, Inc.

Mehren, W. (1976). Measurement and Evaluation in Education and Psychology. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row.