แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหาร ในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อ้ครเดช นามเสถียร
สุดา สุวรรณาภิรมย์
สุนทร ผจญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การจัดการองค์การของผู้ประกอบการขนส่ง การปฏิบัติการขนส่ง ความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหาร 2) ศึกษาอิทธิพลของการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การจัดการองค์การของผู้ประกอบการขนส่ง การปฏิบัติการขนส่ง ความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่ง และการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ และ  3) เสนอแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าการเกษตรและอาหารจังหวัดอุดรธานีจำนวน 300 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคเอกชน ผู้ประกอบการด้านการขนส่ง ผู้ใช้บริการธุรกิจขนส่ง หรือผู้ที่มีความชำนาญด้านการขนส่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การปฏิบัติการขนส่ง ความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่ง อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด ส่วนการจัดการองค์การของผู้ประกอบการขนส่ง อยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาด้านโลจิสติกส์ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การปฏิบัติการขนส่ง การจัดการองค์กรผู้ประกอบการขนส่ง และความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่ง ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ ประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากร มาตรฐานการบริการ และศักยภาพการลงทุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ และ จิตติชัย รุจนกนกนาฏ. (2554). โครงการผลกระทบของการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าตามข้อตกลงประชาคมอาเซียนที่มีต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนและการค้าผ่านแดน (รายงานวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กระทรวงคมนาคม. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558- 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2564). การจัดการโซ่ความเย็น (Cold Chain Management). จดหมายข่าว : NEWSLETTER กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, 4(1), 4-11.

กอบกุล โมทนา. (2559). ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558- 2565. รัฏฐาภิรักษ์, 58(1), 92-104.

นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Aziz, A., Memon, A. and Ali, S. (2020). Logistics capability, logistics outsourcing and firm performance in manufacturing companies in Pakistan. Journal of Asian Finance, Economics and Business, 7(8), 435-444.

Badia-Melis, R., Mishra, P., & Ruiz-García, L., (2015). Food traceability: New trends and recent advances. A review. Food control, 57, 393-401.

Bag, S., Gupta, S. and Luo, Z. (2020), “Examining the role of logistics 4.0 enabled dynamic capabilities on firm performance”, The International Journal of Logistics Management, 31(3), 607-628.

Mei, B. (2021). On tracing abnormal links in cold chain logistics of agricultural products by using location-based service. Internet Technology Letters, 48(12), 20-46.