บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข

Main Article Content

ธณกร มณีโชติ
สุดา สุวรรณาภิรมย์
ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ระบบการเมือง ระบบการกำกับดูแล ระบบธุรกิจของสื่อ และระบบจรรยาบรรณของสื่อ 2) อิทธิพลเชิงสาเหตุของระบบการเมือง ระบบการกำกับดูแล ระบบธุรกิจของสื่อ และระบบจรรยาบรรณของสื่อต่อการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข และ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ สื่อสารมวลชน สาขา สื่อการเมือง สื่ออาชญากรรม และสื่อบันเทิง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสื่อสารมวลชน นักวิชาสายการศึกษาด้านสื่อสารมวลชน นักวิชาการอิสระในด้านสื่อสารมวลชน นักการเมือง และ นักกฏหมาย รวมทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ระบบการเมือง ระบบการกำกับดูแล ระบบธุรกิจสื่อ และระบบจรรยาบรรณสื่อ อยู่ในระดับมาก ทั้งหมด 2) ระบบการกำกับดูแล  มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ระบบการเมือง ระบบธุรกิจของสื่อ และระบบจรรยาบรรณ ตามลำดับ และ 3)ได้แนวทางการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข  มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย ระบบการกำกับดูแล ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด
เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีระบบการเมือง และระบบธุรกิจของสื่อ อยู่ตรงกลาง และระบบจรรยาของระบบสื่อ ช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย  นอกจากนั้นการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุขต้องประกอบด้านความยุติธรรม ด้านความปรองดอง ด้านความสงบสุขภายใน และด้านมีเสรีภาพ ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อหน่วยงานต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและการยกร่างแผนแม่บทของสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมสมานฉันท์ได้นำผลการวิจัยไปกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมสันติสุขต่อไปให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทมร สีหาบุญลี. (2558). ศึกล้านนา บูรณุปกรณ์ เลือดข้นกว่าน้ำ. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563, จาก https://www.komchadluek.net/news/scoop/428425

นิธินันท์ ยอแสงรัตน์. (2563). การเลือกข้าง. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

นันทนา นันทวโรภาส.(2560). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพ: แมสมีเดีย.

วีนัส ธรรสาโรรัชต์. (2563). โมเดลการพัฒนาสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์.(2559). จริยธรรมสื่อมวลชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา.(2558). การเมืองกับสื่อ (Political and Media) คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย. (เล่ม 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aber cromabie, N.H.S. and Turner, B.S. (2000). The Penguin Dictionary of Sociology. London: Penguin Books.

El Baqmi, S.E.M. (2018). Attitudes of the university public towards the digital communication technology of the media center and its relationship to the level performance.The Egyptian Journal of Media Research, 65, pp.1-41.

Kumar, K.J., (2020). Mass communication in India. Delhi: Jaico Publishing House.

Roshandel-Arbatani, T., Kawamorita, H., Ghanbary, S. and Ebrahimi, P. (2019). Modelling media entrepreneurship in social media: SEM and MLP-ANN Approach. AD-minister, 34, 35-57.