การบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

Main Article Content

วชิราภรณ์ กาญจนะ
พัด ลวางกูร
นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ
ศิริรักษ์ นิทัศน์เอก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และ 2) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือคือการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญของภาครัฐ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม รวม 22 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงบรรยาย


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการ ประกอบด้วย (1) การหาหลักการหรือข้อตกลงร่วมกัน ประสานงานและวางแผนความร่วมมือผ่านการประชุมร่วมกันทั้งในระดับประเทศและจังหวัด (2) การดำเนินงานร่วมกัน ใช้ความรู้และทรัพยากรร่วมกัน (3) การให้ความช่วยเหลือและแนะนำการมีแรงจูงใจร่วมกันโดยไว้วางใจ และเชื่อมั่นในศักยภาพของหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันโดยยึดหลักการตามข้อบังคับของกฎหมาย 2) ปัญหา ประกอบด้วย (1) การถ่ายทอดนโยบาย (2) การบูรณาการในการเชื่อมโยงระบบข้อมูลร่วมกันของภาคีเครือข่าย (3) การประสานงานระหว่างภาคีเครือข่าย อุปสรรค ประกอบด้วย (1) วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี หลักการของศาสนา (2) ทัศนคติของสังคม ครอบครัว และวัยรุ่น ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมนโยบายแบบองค์รวมที่มีความสอดคล้องกันทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด/อำเภอ ระดับท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานภาคประชาสังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ปรับปรุงหรือพัฒนาระบบเครือข่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นส่วนกลาง เพื่อช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน และนำมาซึ่งการเข้าถึงปัญหาของหน่วยงานทุกระดับ (3) เปิดโอกาสให้หน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ ที่มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญ มีเครื่องมือ เป็นหน่วยงานนำในการดำเนินนโยบาย โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานสนับสนุน หรือร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://rh.anamai.moph.go.th

กรวิชญ์ บุญมี. (2566). การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(5), 511-526.

กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2563). โฉมใหม่ของการบริหารภาครัฐในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์ และดารารัตน์ คำเป็ง. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการกระจายอำนาจ: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับสหราชอาณาจักร. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 11(ฉบับเพิ่มเติม), 53-76

ธัชมาศ สุเวช. (2563). การจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม: กรณีศึกษางานประเพณีชักพระ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญญาพร เรียมทอง. (2562). การตอบสนองของหน่วยงานต่อการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559: กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสิทธิ์ อิ่มปัญญา และคณะ (2551). การศึกษาปัจจัยและแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่ นที่อยู่ในวัยเรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (รายงานวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

นวลทิพย์ สานุกูล. (2559). การพัฒนาเครือข่ายชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลางตอนบน. (พิมพ์ครั้งที่1). ลพบุรี: วี.เอส.ยูซท์กอปปี้ แอนด์ ซัพพลาย.

พบสุข ช่ำชอง. (2561). การบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือ: ฐานรากนวัตกรรมท้องถิ่น Local innovation through collaborative governance. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหากาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พุทธศักราช 2559. (2559, 30 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. (พิมพครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2563). การอภิบาลบนฐานความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดิน และแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของรัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์

.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์ (2560). การบริหารงานภาครัฐกับมิติของความเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. รัฐสภาสาร, 64(5), 9-34.

Agranoff, R., & McGuire, M. (2003). Collaborative public management: new strategies for local governments. Washington, D.C.: Georgetown University Press.

Ansell, C and Gash, A. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory. 8, 543–571.