องค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานเป็นทีม ของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยขององค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 227 คน จากสูตรการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการเพิ่มอำนาจสมาชิกองค์การ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ และด้านพลวัตรของการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
จิรพัทธ์ สมพรสุขสวัสดิ์ (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท เรด วูลฟ์ โกลบอล จำกัด (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จิรธร อ่อนละมูล. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้ในการทำงานแบบกลุ่มของข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
เดวิด ศรีชัยอุดม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมศึกษากรณี บริษัท สายการบิน เอเซียน จำกัด (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกริก.
ทิศนา แขมณี. (2562). กลุ่มสัมพันธ์: ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บูรพาศิลป์.
ปัญญา อัศวกุลประดิษฐ์. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบการนำแนวความคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้มาปฏิบัติระหว่างองค์กรภาครัฐ กับองค์กรเอกชน: กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน กับบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิณสวัน ปัญญามาก. (2563). การรับรู้ศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาหน่วยธุรกิจและหน่วยปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภรณี มหานนท์. (2562). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
มาลัยวัลย์ บุญแพทย์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลขององค์การ: กรณีศึกษา พนักงานสายสำนักงาน บริษัท ซีพี ออลล์จำกัด (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
ศักรินทร์ เกษรเทียน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลในการทำงานแบบกลุ่มของข้างราชการตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2565). บทบาทของผู้นำต่อการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้อย่างประสบผลสำเร็จ (วิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
สมชาย หิรัญกิติ. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
อำนวย ศิริแพทย์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษาที่ 12 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Marquardt, M. J. & Reynolds, R. (2014). the Global Learning Organization. New York: IRWIN, Professional Publishing.
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.