การดำเนินนโยบายการค้าชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา บนฐานบริบทการค้าชายแดนตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2564 2) วิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดรูปแบบและนโยบายของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2564 และ 3) วิเคราะห์การกำหนดและการดำเนินนโยบายทางการเมืองที่ส่งผลต่อการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2564 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 27 คน ใช้การคัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์ทางการค้ากันมาอย่างยาวนานแม้จะมีปัญหาทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระยะ ทำให้การค้าชายแดนต้องชะงักลงไปบ้างก็ตาม แต่ไทยและกัมพูชาก็ยังมีการพัฒนากรอบความร่วมมือกันทั้งที่เป็นพหุภาคีและทวิภาคีอีกหลายกรอบ 2) รัฐบาลมีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งแนวคิดการการใช้ประโยชน์จากศักยภาพพื้นที่ชายแดนของไทย ส่งผลต่อการพัฒนาการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย และ 3) การดำเนินนโยบายแบ่งออก เป็น 4 ยุค ได้แก่ (1) ยุคการค้าเสรีอาเซียน
(พ.ศ. 2531-2545) เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาสงครามและความมั่นคงตามแนวชายแดน (2) ยุคยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (พ.ศ. 2546-2552) (3) ยุคการพัฒนาประชาคมอาเซียน (พ.ศ. 2553-2557) เป็นนโยบายการค้าชายแดนเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ (4) ยุคการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน (พ.ศ. 2558-2564) มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2565). มูลค่าการค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://www.dft.go.th/Portals/3/ชายแดนผ่านแดน %20 ม.ค.-ธ.ค.63.pdf
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2565). ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนไทยเพื่อนบ้าน. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://www.dft.go.th/bts/
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. (2566). ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของไทยที่ดำเนินงานผ่าน TICA. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://ticathaigov.mfa.go.th/page/ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของไทย?menu=5f363e0cd68bca0d54302fed
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2556). ASEAN Mini Book. กรุงเทพฯ: เพจ เมคเกอร์.
ฉัตรรัตน์ ไชยจันทรัสม์. (2561). รายงานการศึกษาทางวิชาการ เรื่อง เขตการค้าเสรีอาเซียน: ผลกระทบต่อไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สำนักกรรมาธิการ 1.
ชิตพล ชัยมะดัน และศรุติ สกุลรัตน์. (2558). นโยบายการค้าชายแดนไทย-กัมพูชากับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วารสารราชพฤกษ์, 13(2), 76-58.
ดำรง แสงกวีเลิศ และนันธิกา ทังสุพานิช. (2545). เขตเศรษฐกิจพิเศษ: แนวคิดใหม่ในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ.วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 39(2), 42–43.
ธัญญาทิพย์ ศรีพนา. (2556). จุดแข็งของเวียดนามสู่ความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(ฉบับพิเศษ), 213–238.
นพภัสสร มาเทียน. (2549). ประวัติการค้าชายแดนไทย–กัมพูชาด้านจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ. 2518–2546) (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บัญญัติ สาลี. (2552). การปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบริเวณพื้นที่ชายแดนไทกัมพูชา และนัยเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนของรัฐไทย กรณีศึกษา: จุดผ่านแดนช่องจอมจังหวัดสุรินทร์ (รายงานวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ผุสดี พลสารัมย์, ลิศรา เตชะเสริมสุขกูล และปิยะรัตน์ พิพิธวณิชธรรม. (2557). การค้าระหว่างประเทศทางบกด้านเหนือ (รายงานวิจัย). สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).
พรพิมล ตรีโชติ. (2560). การค้าชายแดนไทยกับอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล. (2551). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจในประเทศไทย กรณีศึกษา: บทบาทของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัควัฒน์ จรรยาสุทธิวงศ์. (2556). การพัฒนาด่านช่องสะงำสู่ความสัมพันธ์ไทย–กัมพูชาในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มูลนิธิคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน. (2565). ยุทธศาตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS). ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://jsccib.org/th/business_forum/group/1
รวิวรรณ หิรัญสุข. (2544). ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย–กัมพูชา: ศึกษาภายหลังการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1993 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ระดม วงษ์น้อม. (2527). แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำและการศึกษาโครงสร้างอำนาจชุมชน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2565). กรอบความร่วมมือGreater Mekong Subregion: GMS. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://fad.mnre.go.th/th/ as/content/360