อิทธิพลของบรรยากาศองค์กรต่อความผูกพันองค์กรของผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเป็นกะ ฝ่ายสถานีสูบจ่ายน้ำ การประปานครหลวง

Main Article Content

พงศกร แก้วเสมา
ณัฐพล พันธุ์ภักดี

บทคัดย่อ

      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลด้านลักษณะส่วนบุคคลต่อความผูกพันองค์กรของผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเป็นกะ 2) ศึกษาอิทธิพลของบรรยากาศองค์กรต่อความผูกพันองค์กรของผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเป็นกะ กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำงานเป็นกะ ฝ่ายสถานีสูบจ่ายน้ำ การประปานครหลวง จำนวน 70 คน การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  


     ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุดและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันองค์กรแตกต่างกัน 2) บรรยากาศองค์กรในด้านมิติความยึดมั่นผูกพันมีผลทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันองค์การและสามารถพยากรณ์ความผูกพันองค์การได้ร้อยละ 60.8

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2564). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา

จีรพัฒน์ พฤฒิสืบ. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชุติรัตน์ ชมภูรัตน์. (2552). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท แอบบีเครสท์ (ประเทศไทย) จำกัด. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์

พสิษฐ์ เกียรติจานนท์. (2562). ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความผูกพันต่อองค์การและความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมไทย. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สันต์ฤทัย ลิ่มวีรพันธ์. (2550). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ (Employee Engagement) : กรณีศึกษา บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน). (สารนิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุพจน์ นาคสวัสดิ์. (2559). Employee Engagement Survey. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์

สุพิณดา คิวานนท์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สรชัย พิศาลบุตร. (2549). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ: บริษัทจูนพับลิชชิ่ง.

อภิญญา พึ่งฉิ่ง. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุน กรณีศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.