การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จักรีวรรณ จุเมือง
สุรีย์ โบษกรนัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การควบคุมภายในส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร 2) การบริหารความเสี่ยงส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 400 คนการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) การควบคุมภายใน ปัจจัยด้านกิจกรรมการควบคุม, สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีผลกระทบเชิงบวกต่อการบรรลุเป้าหมาย, การจัดหาทรัพยากร, กระบวนการปฏิบัติงาน, และความพอใจของทุกฝ่าย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ขณะที่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมและการประเมินความเสี่ยงไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านดังกล่าว 2) การบริหารความเสี่ยงด้านการบรรลุเป้าหมายปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร, กลยุทธ์และการกำหนดวัตถุประสงค์, การจัดการความเสี่ยง, การทบทวนและการปรับปรุง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ด้านการจัดหาทรัพยากร: ปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร, การจัดการความเสี่ยง, การทบทวนและการปรับปรุง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน: ปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การจัดการความเสี่ยง, การทบทวนและการปรับปรุง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ด้านความพอใจของทุกฝ่าย: ปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร, การจัดการความเสี่ยง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ทุกปัจจัยเหล่านี้มีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2553). รูปแบบธุรกิจ SMEs. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567, จาก https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/SMEs.pdf

ณัฐชากร เวชศรี. (2565). การบริหารความเสี่ยงตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017 ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการบริหาร และการจัดการ, 10(2), 43-52.

ธนพัฒน์ ขันกฤษณ์. (2560). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานราชการกรมการเงินทหารบก (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), (2559) ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจ SME ในระบบเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php? nid=5748&filename=develop_issue

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567, จาก https://www.sme.go.th/aboutus/

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2566). บทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567, จาก https://www.tdri.or.th

สุประวีณ์ สุวรรณรัตน์. (2562). การศึกษาองค์ประกอบในการนำระบบการบริหารความเสี่ยงองค์กรมาใช้ตามกรอบแนวคิด COSO - ERM (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อรญา เหง่าศิลา. (2562). การควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการทำงาน ของกลุ่มตรวจสอบภายในและส่วนการคลัง กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย. (2567). การบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567, จาก https://www.dpo.go.th/

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Inaam, M. A.Z. (2015). The Role of Internal Control in Enhancing Corporate Governance: Evidence from Jordan. International Journal of Business and Management, 10(7), 57 – 66.

Institute of Internal Auditors. (2017). International Professional Practices Framework (IPPF). Retrieved August 28, 2024, from https://www.theiia.org/en/about-us/standards-and-guidance/ippf/

KPMG. (2020). Internal controls: A guide for small and medium-sized enterprises. Retrieved 28 August 2024, from https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2020/10/ internal-controls.html

Muhammad, R.F. (2022). COSO: Enterprise Risk Management sebagai Upaya Mempertahankan Keberlangsungan Perusahaan Jasa Travel Haji dan Umrah. Trilogi Accounting & Business Research, 3(2), 223-238.

PricewaterhouseCoopers. (2021). Managing risk in a changing environment. Retrieved 28 August 2024, from https://www.pwc.com/gx/en/services/governance-risk-compliance.html

The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission. (2013). Internal control-Integrated framework: Executive summary. Retrieved 28 August 2024, from https://www.coso.org/Documents/990025P-Executive-Summary-final-may20.pdf

The Institute of Internal Auditors (IIA). (2021). International Professional Practices Framework (IPPF). Retrieved 28 August 2024, from https://www.theiia.org/en/about-us/standards-and-guidance/ippf/

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.