การยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภค และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง ระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอ้อมน้อย จำนวน 418 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างวิธีแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภค ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพ ความง่ายต่อการใช้งาน ด้านคุณภาพของระบบ และ ด้านการยอมรับต้นแบบแอพพลิเคชั่น ตามลำดับ และ 2) ผลทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ พบว่าคุณภาพของระบบ ความง่ายต่อการใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบ มีส่วนในการส่งผลต่อการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง สามารถอธิบายได้เท่ากับ 65.8 % การทดสอบตัวแปรอิสระที่ไม่ส่งผลต่อตัวแปรตามพบว่า คุณภาพระบบ (Sig. = .066) ส่วนปัจจัยด้านความง่ายต่อการใช้งาน (Sig. = .006) และด้านประสิทธิภาพ (Sig. = .000) ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 ส่งผลให้เห็นว่า ความง่ายต่อการใช้งาน และประสิทธิภาพ มีอิทธิพลทางบวกและในส่วน คุณภาพระบบนั้น ไม่มีอิทธิพลต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่นฯ สำหรับการประปาส่วนภูมิภาค ผลการวิจัยนี้สามารถนำมาพิจารณาประกอบการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง ให้ใช้งานได้จริง เพื่อเป็นการบริการให้กับกลุ่มผู้ใช้น้ำการประปาส่วนภูมิภาค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ชนาธิป ครรชิต (2559). คุณภาพการบริการของการประปาส่วนภูมภาคสาขาหาดใหญ่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฐปภัสร์ ดาราพงษ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking (การค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นวภัทร ศุภศีลวัต. (2560). การพัฒนาระบบ Chatbot ในการค้าเพื่อการส่งข้อความออนไลน์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปฐมาภรณ์ บำรุงผล. (2564). คุณภาพของระบบสารสนเทศ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้การรับรู้ความมีประโยชน์และความพึงพอใจ ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการระบบการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรชนก พลาบูลย์. (2558). การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์(PromptPay) ของรัฐบาลไทย (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พระมหาเชษฐ์ภาวิตร นาโฮม.(2563). ต้นแบบนวัตกรรมไลน์บอทสำหรับบริการข้อมูลสารสนเทศของสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พศกร ผ่องเนตรพานิช และกฤษณา วิสมิตะนันทน์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อบริการฟังเพลงออนไลน์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทย. BU Academic Review, 15(2), 69-84.
ภัทราวดี ทองมาลา (2558). การยอมรับระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของเจ้าหน้าที่พัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วนิดา ตะนุรักษ์, นรพล จินันท์เดช และประยงค์ มีใจซื่อ. (2560). อิทธิพลของทัศนคติต่อการใช้งานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีของพนักงานอุตสาหกรรมการค้าส่งและค้าปลีกไทย. สมาคมนักวิจัย, 22(1), 41-53.
สโรชา แพร่ภาษา. (2549). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566, จาก http://www.polpacon7.ru.ac.th/
สายชล เลิศพิทักษ์ธรรม (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจและการใช้โมบายแอปสาหรับเรียกรับบริการผู้รับส่งสิ่งของ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Fagan, M. H., Neill, S. & Wooldridge, B. R. (2008). Exploring the intention to use computers: An empirical investigation of the role of intrinsic motivation,extrinsic motivation, and perceived ease of use. Journal of Computer Information Systems, 48(3), 31-37.
Hansen, J. M., Saridakis, G. & Benson, V. (2018). Risk, trust, and the interaction of perceived ease of use and behavioral control in predicting consumers’ use of social media for transactions. Computers in Human Behavior, 80, 197-206.
Mazman, S. G., & Usluel, Y. K. (2010). Modeling educational usage of Facebook. Computers & Education, 55(2), 444-453.
Patnasingam, P., Gefen, D., & Pavlou, P. A. (2005). The role of facilitating conditions and institutional trust in electronic market places.Journal of Electronic Commerce in Organizations (JECO), 3(3), 69-82.
Saadé, R. & Bahli, B. (2005). The impact of cognitive absorption on perceived usefulness and perceived ease of use in on-line learning: an extension of the technology acceptance model. Information & management, 42(2), 317-327.
Tam, C. & Oliveira, T. (2016). Performance impact of mobile banking: using the task technology fit (TTF) approach.Retrieved March 8, 2023, from https://www.slideshare.net/ soniasousa/hcc-lesson6
Venkatesh, V. & Davis, F. D. (2000). Atheoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management science, 46(2), 186-204.
Venkatesh, V. & Morris, M. G. (2000). Why don't men ever stop to ask for directions? Gender, social influence, and their role in technology acceptance and usage behavior.MIS quarterly, 24, 115-139.
Venkatesh, V. & Bala, H. (2008). Technology acceptance model 3 and a research agenda on interventions. Decision sciences, 39(2), 273-315.
Wu, J. H. & Wang, S. C. (2005). What drives mobile commerce?: An empirical evaluation of the revised technology acceptance model. Information & management, 42(5), 719-729.