การจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ตามแนวทางการจัดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS) Creating quality public services of Local Government Organization in according with the New Public Services (NPS) management guidelines.

Main Article Content

กันต์อเนก ภู่จินดา
วิจิตรา ศรีสอน

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถปกครองตนเองได้เองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นโดยใช้หลักการคำนึงถึงเจตนารมณ์ ความสามารถในการปกครองตนเองด้านรายได้ จำนวนความหนาแน่นประชากร และพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบกัน การจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีคุณภาพ จึงเป็นหน้าที่หลักสำคัญในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่เป็นตัวแทนผู้ใช้อำนาจและขับเคลื่อนกลไกนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยนำหลักการจัดทำบริการสาธารณะแนวใหม่ ที่ประกอบไปด้วยหลักการขั้นพื้นฐานทางรัฐประศาสนศาสตร์ทั้ง 4 อย่าง ได้แก่ 1. ทฤษฎีประชาธิปไตยพลเมือง 2. ตัวแบบชุมชนและประชาสังคม 3. มนุษย์นิยมองค์การและรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ 4. รัฐประศาสนศาสตร์หลังสมัยใหม่ โดยมีขอบข่ายที่ใช้เป็นแนวทางในการบริหาร 7 ประการ ได้แก่ 1. การบริการรับใช้พลเมืองไม่ใช่ลูกค้า 2. การค้นหาผลประโยชน์สาธารณะ 3. เน้นคุณค่าความเป็นพลเมืองมากกว่าการเป็นผู้ประกอบการ 4. การคิดเชิงกลยุทธ์ปฏิบัติแบบประชาธิปไตย 5. การตระหนักในความสามารถรับผิดชอบได้ไม่ใช่เรื่องง่าย 6. การให้บริการมากกว่าการกำกับทิศทาง 7. การให้คุณค่ากับคนไม่ใช่แค่ผลิตภาพ มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำบริการสาธารณะ ที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างระบบการมีส่วนร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คนในชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการจัดทำนโยบายสาธารณะที่มีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่นส่วนรวมให้ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมและยุติธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์. (2564). Anglo-Saxon System. สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567 จาก

https://mgtsci.stou.ac.th/anglo-saxon-system/.

จรัส สุวรรณมาลา. (2544). การพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัทกวี ศิริรัตน์ และคณะ. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การบริการสาธารณะ. วารสารรวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 131–142.

บุษยา นิลฉวี. (2563). การบริหารงานบริการภายใต้แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 74–75.

วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ศวีระ โภคเนืองนอง. (2565). การบริการสาธารณะแนวใหม่โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง กรณีศึกษา สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สัญญา เคณาภูมิ. (2561). กระบวนทัศนการจัดการบริการสาธารณะแนวใหม่ New Public Service (NPS) Paradigm. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 181-197.

สันต์ชัย รัตนะขวัญ. (2559). การบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title

สมชัย นันทาภิรัตน์. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 114-127.

เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2549). ทางสองแพรงของจริยธรรมการบริหาร (The Dilemma of Administrative Zeitgeists). ใน การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 7 (น. 643 - 662).

Denhardt, R. B. Denhardt, V. J. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York: M.E. Sharpe, Inc.

Marcou, Gerard. (2007). Local Authority Competences in Europe. Council of Europe, p. 16 - 18.