การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านอาหาร SWAG ตําบลไรรา อําเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

รัชดาวรรณ วงศ์คำจันทร์
นิติพล ภูตะโชติ

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการร้านอาหาร SWAG ตำบลไรรา อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการร้านอาหาร SWAG ตำบลไรรา อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มี เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง เป็นลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านอาหาร SWAG จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และทดสอบความแปรปรวนรายคู่ทางสถิติด้วยวิธี LSD


     ผลการศึกษาพบว่า 1) ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของร้านอาหาร SWAG ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคคล ลักษณะทางกายภาพ และมีความพึงพอใจระดับมากในด้านกระบวนการ ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์กับความพึงพอใจในแต่ละด้านของส่วนประสมการตลาดบริการ เช่น เพศหญิงมีความพึงพอใจในด้านราคามากกว่าเพศชาย และลูกค้าที่มีรายได้สูงมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์มากกว่า ผลสรุปชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการปรับปรุงการบริการและการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มเพื่อเพิ่มความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลวรินทร์ แป้นสุวรรณ์. (2561). ลักษณะทางกายภาพ ความไว้วางใจ คุณภาพการให้บริการ คุณค่าที่รับรู้ และความพึงพอใจ ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำและการบอกต่อของลูกค้าที่รับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์โรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐพงษ์ วิจิตรพิทักษ์กุล. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรัชญา จารุเรืองไพศาล. (2566). คุณภาพอาหาร คุณภาพทางกายภาพ คุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์ การรับรู้คุณค่า ความพึงพอใจ และการซื้อซ้ำของลูกค้าที่ใช้บริการร้านอาหารริมบาทวิถีบนถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี. (2567). ttb analytics มองธุรกิจร้านอาหารปี 2567 มีมูลค่าราว 6.69 แสนล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2567, จาก https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/ttba-restaurant-market-2024

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). มูลค่าธุรกิจร้านอาหารขยายตัวในปี 2565-2566 ท่ามกลางโจทย์ท้าทายด้านต้นทุน และการรักษากำไรของผู้ประกอบการ. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2567, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/restaurant-z3352.aspx

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Anderson, E. W., & Sullivan, M.W. (1993). The antecedents and consequences of customer

satisfaction for firms. Marketing Science, 12(2), 125-143.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2017). Principles of marketing. (17th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. (15th ed. ). Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Oliver, R. L. (1980). A cognitive model of the antecedents and consequences of satisfaction decisions. Journal of Marketing Research, 17(4), 460-469.

Sekaran, U., & Bougie. R. (2020). Research Methods for Business: a skill-building approach. (8th ed.). Handdington: John Wiley and Sons.