ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้องค์กร การจัดการความรู้ และนวัตกรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจ สื่อโฆษณาในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้องค์กรการจัดการความรู้ นวัตกรรมองค์กร และความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสื่อโฆษณาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้องค์กร การจัดการความรู้ นวัตกรรมองค์กร ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสื่อโฆษณาในเขตกรุงเทพมหานครและ 3) เพื่อสร้างแบบจำลองความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสื่อโฆษณาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการองค์กรธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 คน ใช้การคัดเลือกแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการธุรกิจสื่อโฆษณาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน20 คน เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย การเรียนรู้องค์กรนวัตกรรมองค์กร การจัดการความรู้ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ 2)อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้องค์กร การจัดการความรู้ นวัตกรรมองค์กร ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสื่อโฆษณาในเขตกรุงเทพมหานคร ผลเป็นไปตามสมมติฐานทุกข้อ 3)แบบจำลองชื่อว่า “T O K O S Model” สามารถนำไปใช้ในสร้างความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย สู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูงผ่านการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ด้วยการคำนึงถึงปัจจัย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้องค์กร การจัดการความรู้ นวัตกรรมองค์กร รูปแบบแนวคิดและวิธีการส่งเสริมสมรรถนะหลักของธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย เพื่อองค์กรธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทยยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). พุทธวิธีการสอน Buddha's Teaching Methods. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). ระบบสื่อการสอน, ในชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เล่ม 1 หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูสมุห์ทิพย์ สิริธมฺโม. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมบัณฑิต. (2558). ประวัติและพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันทิพา อมรฤทธิ์ และคณะ. (2564). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พิเชษฐ ยังตรง. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วันเพ็ญ นามกร. (2554). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การสอนแบบบูรณาการแนวพุทธ. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2560). ระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ. (รายงานวิจัย). กองทุนพัฒนาวิชาการ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). เอกสารแนวทางการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.