บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ไทย กรณีศึกษา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

Main Article Content

ปรีชา สาเส็ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ไทย กรณีศึกษา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และ 2) เพื่อศึกษาแนวคิด และภาวะผู้นำต่อบทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ไทย กรณีศึกษา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ บทบาทพระสังฆาธิการไทยทั้ง 6 ด้าน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย พระสังฆาธิการผู้ปกครองระดับระดับต่าง ๆ ได้แก่ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เลขานุการเจ้าคณะใหญ่ เลขานุการภาค เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด เจ้าหน้าที่สำนักงานกองเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 10 รูป/คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือคือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 
          ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทภาวะผู้นำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ (1) การปกครองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในด้านการบริหาร (2) การเปิดโอกาสการศึกษาสำหรับพระภิกษุและสามเณร ทั้งทางโลกและทางธรรม (3) การสนับสนุนการศึกษาตามแนววิถีพุทธและโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการศึกษาพระพุทธศาสนา (4) การสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ (5) การใช้พื้นที่วัดต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชน และ (6) การส่งเสริมโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 2) บทบาทสำคัญของสมเด็จพระพุฒาจารย์ในการเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์ ส่งผลต่อการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ไทยอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในการพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐฐาพร จินดาสวัสดิ์. (2558). การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทย: กรณีศึกษา: มหาเถรสมาคม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). การบริหารจัดการสาธารณะ. คณะรัฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร. มนุษย์ศาสตร์ปริทัศน์, 4(2), 117-125.

พระใบฎีกาศราวุฒิ หงส์คำ. (2560). การเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารงานของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 (รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ไพโรจน์ ดวงศรี. (2558). รูปแบบโครงสร้างองค์การและบทบาทการบริหารงานของพระสังฆาธิการที่มีผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2550). พระสังฆาธิการในคณะสงฆ์: บทบาทและความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ปยุตฺโต). (2534). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิมพ์อําไพ

พระอดุลย์ กุสลจิตฺโต(ภักดีกุล). (2561). บทบาทของพระสังฆาธิการที่มีต่อการปกครองคณะสงฆ์ ในเขตการปกครอง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(43), 65-74

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

Bogardus, E. S. (1934). Leader and leadership. Appleton-Century-Crofts.

Campbell, D. J. (1997). Organizations and the business environment. Butterworth-Heinemann.

Dessler, G. (2020). Human Resource Management (16thed.). Pearson.

Fiedler, F. E. (1967). A theory of leadership effectiveness. McGraw-Hill.

Gombrich, R. F. (2006). Theravada Buddhism: A social history from ancient Benares to modern Colombo. Routledge.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. & Donnelly, J. H. (1997). Organization behavior Structure Process. (9th ed). New York: McGraw-Hill.

Hefner, R. W., and Horvatich, P. (1997). Islam in an era of nation-states: Politics and religious renewal in Muslim Southeast Asia. University of Hawaii Press.

Hastyar, et al. (2021). Leadership Styles and their effects on Organizational Effectiveness. Black Sea Journal of Management and Marketing, 2(2), 26-33

Kotter, J. P. (2007). Leading change: Why transformation efforts fail. IEEE Engineering Management Review, 37(3), 42-48.

Krech D., Crutchfield and E.L. Ballachy. (1984). Individual in Society. Bombay: Tata Mcgraw –hill.

McLaughlin, C. P., and Kunk-Czaplicki, J. A. (2020). Leadership: Theory and practice by Peter G. Northouse. Journal of College Student Development, 61(2), 260-261.

Nelson, D.L. and Quick, J.C. (1997). Organization Behavior: Foundations Realities and Challenges. New York: West Publishing Company.

Tead, O. (1935) The Art of Leadership. McGraw Hill, New York.

Tannenbaum, R., Weschler, I. R., and Massarik, F. (1961). Leadership and organization: A behavioral approach. McGraw-Hill.

Stogdill, R. M. (1950). Leadership, membership, and organization. Psychological Bulletin, 47(1), 1–14.

Likert, R. (1997). The human organization. McGraw-Hill.

Robbins, S.P. and Judge, T.A. (2018) Essentials of Organizational Behavior (14th ed). Pearson Education, Inc., London.

Swearer, D. K. (2010). The Buddhist world of Southeast Asia. State University of New York Press.

Solomon, B. (1950). Leadership of youth. Youth Service.

Tracey, P. (2012). Religion and Organization: A Critical Review of Current Trends and Future Directions. Academy of Management Annals, 6(1), 87-134.