แนวทางการพัฒนาธุรกิจชะลอวัยตามมาตรฐานสากลของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

วีร์กวิน ศิริคุรุรัตน์
ทวี แจ่มจำรัส
ศมานันทร์ รัตนศิริวิไล
ไปรพร แสงจันทร์

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาธุรกิจชะลอวัยตามมาตรฐานสากลของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คุณสมบัติของพนักงาน คุณสมบัติของผู้ประกอบการเทคโนโลยี และคุณภาพการให้บริการ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของคุณสมบัติของพนักงาน คุณสมบัติของผู้ประกอบการ เทคโนโลยี และคุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาธุรกิจชะลอวัยตามมาตรฐานสากล และ 3) แนวทางการพัฒนาธุรกิจชะลอวัยตามมาตรฐานสากลของผู้ประกอบการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการธุรกิจคลินิกสุขภาพชะลอวัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ได้รับใบอนุญาต จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือสัมภาษณ์เจาะลึก ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุข ผู้ประกอบการคลินิกสุขภาพชะลอวัยในกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการคลินิกสุขภาพชะลอวัยในปริมณฑล และ ผู้ใช้บริการคลินิกสุขภาพชะลอวัยรวมทั้งสิ้น 17 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


       ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการ คุณสมบัติของพนักงาน การพัฒนาธุรกิจชะลอวัยของผู้ประกอบการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคุณสมบัติของผู้ประกอบประกอบการ และเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก 2) คุณสมบัติของผุ้ประกอบการมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนาธุรกิจชะลอวัยของผู้ประกอบการมากที่สุด รองลงมาได้แก่ คุณสมบัติของพนักงาน เทคโนโลยี และ คุณภาพการให้บริการตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาธุรกิจชะลอวัยตามมาตรฐานสากลของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย การใช้บริการซ้ำโดยบอกต่อ การได้รับมาตรฐานสากล การบริหารการเงิน และการเพิ่มพูนมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุขใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายในการกำกับดูแลธุรกิจคลินิกชะลอวัยตามมาตรฐานสากลของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวัฒน์ หาดแก้ว. (2562). กลยุทธ์การตลาดสถานความงามดูแลผิวพรรณ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 223-247.

กัลยา จันทร์สาย. (2564). การพัฒนารูปแบบความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจคลิกนิกเสริมความงามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 329-342.

เพิ่มทรัพย์ เวชสุกรรม. (2563) ปัจจัยเชิงสาเหตุกลยุทธ์การตลาดสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้ประกอบการคลินิกเสริมความงามในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ , 5(10), 366-380.

ภักดี กลั่นภักดี. (2563). การพัฒนาธุรกิจสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลในประเทศไทยสู่ความยั่งยืน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1141-1156.

ภัสธารีย์ เรืองชัยพัฒนะ. (2563). ปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร. วารสารสวนสุนันทาและการวิจัย, 15(1) ,62 -75.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ (2549). แบบจำลองสมการโครงสร้าง: การใช้โปรแกรม LISREL, PRELIS และ SIMPLIS. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ ประจำปี พ.ศ. 2563-2564. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.oie.go.th//assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/IndustryAward_Development_Guidelines.pdf

Ali, M. J., & Rana, M. M. (2020). Women entrepreneurship of Bangladesh: A contextual study on beauty parlor business of Rangpur expanse. International Journal of Business and Economics Research, 5(3), 61-70.

Bangkokbiznews. (2566). โอกาส Wellness Businessไทย คาดปี 66 โตเฉียด 2.5 หมื่นล้านบาท. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1050781

De Silva, T., Mannikko Barbutiu, S., Wakanuma, K., & S Dhameeth, G. (2021). Empowerment through women entrepreneurship: A case from the beauty salon sector in sri lanka. Journal of Women's Entrepreneurship and Education, 2021(1-2), 121-146.

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Khan, M. R. (2020). Factors Influencing the Development of Women Entrepreneurship in Beauty Care and Parlor Industry of Bangladesh. In International Conference on Fostering Innovation in Financial Inclusion–Strengthening Responsible Finance in the Digital Economy” on (Vol. 16).

Kinrehab. (ม.ป.ป.). การให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัย. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://kinrehab.com/anti-aging_medicine

Mac, A. (2019). Competitiveness of Entrepreneurial Companies in Vietnam’s Beauty Spa Industry-An Emerging Market. International Journal of Hospitality Management, 33, 300-315.

Marketeeronline. (2563). Medtopia ศูนย์สุขภาพด้านชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คาดตลาด Anti-Aging เติบโตต่อเนื่อง มีแนวโน้มขยายตัวภายในปี 64. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://marketeeronline.co/archives/201163

Naewna. (2566). Medtopia Integrative Medical Center ได้รับ ArokaGo Star Award โดดเด่นด้านคุณภาพบริการ. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.naewna.com/relation/754185

Sarpaneswaran, S., Chandran, V. G. R., Suntharalingam, C., & Ng, B. K. (2022). Surviving the storm: Synergistic partnership of knowledge management, marketing, and innovation strategies in the cosmetic industry. African. Journal of Science, Technology, Innovation and Development, 14(5), 1215-1226.