ระบบการสอนอิงพุทธวิธีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ทั่วไปของระบบการสอนอิงพุทธวิธี เพื่อพัฒนาระบบการสอนอิงพุทธวิธี เพื่อประเมินระบบการสอนอิงพุทธวิธี และเพื่อนำเสนอระบบการสอนอิงพุทธวิธีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 169 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จำนวน 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ทั่วไปของระบบการสอนอิงพุทธวิธีเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ พบว่า (1) วิธีการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2566 (2) วิธีสอนของอาจารย์ (3) ระบบการสอนอิงพุทธวิธีเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ดี มีคุณธรรม และสามารถนำสันติสุขมาสู่สังคมได้ 2) การพัฒนาระบบการสอนอิงพุทธวิธีเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ พบว่า ระบบต้นแบบมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ อาจารย์สอน ปัจจัยนำเข้า กระบวนการสอน ผลลัพธ์ และผลย้อนกลับ 3) การประเมินระบบการสอนอิงพุทธวิธีเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 4) การนำเสนอระบบการสอนอิงพุทธวิธีเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ มี 3 ประการ คือ (1) หลักการสอนเพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ (2) หลักการสอนเพื่อให้บัณฑิตมีคุณธรรม และ (3) หลักการสอนให้บัณฑิตเป็นผู้นำสันติสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). พุทธวิธีการสอน Buddha's Teaching Methods. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). ระบบสื่อการสอน, ในชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เล่ม 1 หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
พระครูสมุห์ทิพย์ สิริธมฺโม. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมบัณฑิต. (2558). ประวัติและพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันทิพา อมรฤทธิ์ และคณะ. (2564). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พิเชษฐ ยังตรง. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วันเพ็ญ นามกร. (2554). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การสอนแบบบูรณาการแนวพุทธ. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2560). ระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณากา. ร(รายงานวิจัย). กองทุนพัฒนาวิชาการ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). เอกสารแนวทางการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.