ลักษณ์เผื่อเลือก: ไขความลับเรือนร่างหญิงชายในอุดมคติจากตำรานรลักษณ์

Main Article Content

ชนกพร พัวพัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำรานรลักษณ์ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ลักษณะบุคคลของไทยในสมัยโบราณ เพื่อทำความเข้าใจองค์ความรู้เรื่องเพศที่มีอยู่ในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ที่ปรากฏในตำรานรลักษณ์ เป็นการดูลักษณะ “ดี” และ “ร้าย” ของอวัยวะและพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคล เพื่อทำนายลักษณะของอวัยวะที่เกี่ยวกับเรื่องเพศและระบบสืบพันธุ์ ความต้องการทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ รสนิยมทางเพศ การครองเรือน และการมีบุตร เนื้อหาคำทำนายประกอบด้วยลักษณะเรือนร่างในอุดมคติของหญิงและชาย อันอาจส่งผลต่อการให้กำเนิดบุตรซึ่งจะเป็นสมาชิกของสังคมต่อไปในภายภาคหน้า การกำกับควบคุมพฤติกรรมทางเพศ  และการสอนให้ตระหนักถึงรสนิยมทางเพศที่แตกต่างกัน เพื่อให้บุคคลโดยเฉพาะฝ่ายชายสามารถเลือกคู่ได้ถูกต้องและสนองตอบต่อคู่ครองได้อย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่ความสุขทางเพศและช่วยธำรงรักษาสถาบันครอบครัวไว้ได้อีกทางหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชนกพร พัวพัฒนกุล, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต การประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต การประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

References

ภาษาไทย

คเณศ (นามแฝง). (2531). คัมภีร์นรลักษณ์ : ดวงชะตาบนใบหน้า ศาสตร์แห่งการยึดกุมชะตาชีวิตของตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นานมี.

โครงการศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย. (2551). ตำราพรหมชาติ ร.ศ. 120 (พิมพ์ตามอักขระเดิม). กรุงเทพฯ: รามาการพิมพ์.

ณัฐพล บ้านไร่. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องพระเคราะห์ ทศา และ
นรลักษณ์ในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์และตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์ของไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันสกฤตศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ธนากิต (นามแฝง). (2546). ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ปิรามิด.

ธรรมนิตย์ ชำนาญ. (ม.ป.ป.). หนังสือตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: อำนวยสาส์น.

ประยูร อุลุชาฏะ. (2534). ตำรานรลักษณ์. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ปุณฑริกา เจิดนภา. (2547). การใช้นรลักษณ์ศาสตร์ในการคัดเลือกบุคลากร: กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจในประเทศไทย. (โครงงาน (บธ.ม.) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พ. สุวรรณ. (2550). ตำราพรหมชาติ: สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: บ้านมงคล.

พลูหลวง (นามแฝง). (2524). ปุจฉา-วิสัชนา โหราศาสตร์: ภาคพิธีกรรม กับ นรลักษณ์. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ.

พลูหลวง (นามแฝง). (2543). ตำรานรลักษณ์: ศาสตร์แห่งการทำนายลักษณะบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

พิษณุเพทางค์ (นามแฝง). (2521). ตำราพรหมชาติ ฉบับชาวบ้านและนรลักษณ์พยากรณ์. กรุงเทพฯ: หอสมุดกลาง.

ม. อึ้งอรุณ (นามแฝง). (2554). คัมภีร์นรลักษณ์แบบจีน. กรุงเทพฯ: เอ็มทีบุ๊ค.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์). เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560 จาก https://dictionary.apps.royin.go.th

วาตสยายน. (2558). กามสูตร (หนุมาน กรรมฐาน, ผู้แปล). นนทบุรี: ศรีปัญญา.

สุภลัคน์ วงศ์ไพศาลลักษณ์. (2555). ศึกษาศาสตร์โหงวเฮ้งเพื่อการประยุกต์ใช้ในกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในองค์การธุรกิจขนาดย่อม จังหวัดตราด. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

แสง มนวิทูร. (2520). ลักษณะของบุรุษ สตรี และประติมา กับลักษณะของมหาบุรุษและอนุพยัญชนะ (แปลจากคัมภีร์พฤหัตสํหิตา ของ วราหมิหิร). พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: กรมศิลปากร.

หรีด เรืองฤทธิ์. (2508). ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์และตำรานรลักษณ์ ฉบับหลวง ในรัชกาลที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. พระนคร: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.

ห้องโหรศรีมหาโพธิ์. (2545). ตำราพรหมชาติประจำครอบครัวฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: อำนวยสาส์นการพิมพ์.

อ.อุระคินทร์ วิระยะบูรณะ. (ม.ป.ป.). ตำราพรหมชาติฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: ส.ธรรมภักดี.

อาคเนย์. (2498). คัมภีร์พยากรณ์นรลักษณ์วิทยาและหลักกาลชาตาสังเขป. พระนคร: จำเริญศึกษา.

อาภากร หนักไหล่. (2559). ตัวละครอัปลักษณ์ในวรรณคดีไทย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม

อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์. (2523). โหงวเฮ้ง : วิชานรลักษณ์ศาสตร์แห่งการทำนายบุคลิกลักษณะ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

ภาษาต่างประเทศ

Mur, M.-C. (2017). The Physiognomical Discourse and European Theatre: Theory, Performance, Dramatic Text. Frankfurt: Peter Lang GmbH, Internationaler Verlag der Wissenschaften.

Samizadeh, S. (2020). Chinese Facial Physiognomy and Modern Day Aesthetic Practice. J Cosmet Dermatol, 19(1):161-166.

Tytler, Graeme. (2019). Physiognomy in The Professor. Brontë Studies. 44: 339-350.

Woods, Kathryn. (2017). ‘Facing’ Identity in a ‘Faceless’ Society: Physiognomy, Facial Appearance and Identity Perception in Eighteenth-Century London. The Journal of the Social History Society, 14(2): 137-153.