กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบการแสดงความเห็นแย้งในสถานการณ์ การสนทนาที่ต่างกันในภาษาไทย: กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการตอบการแสดงความเห็นแย้งกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันและพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบการแสดงความเห็นแย้งกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันกับปัจจัยเรื่องประเภทของสถานการณ์การสนทนา ซึ่งในที่นี้ได้แก่ สถานการณ์การสนทนาแบบให้คู่สนทนากระทำกิจกรรมร่วมกัน และสถานการณ์การสนทนาแบบให้คู่สนทนาแสดงความคิดเห็น ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบเติมเต็มบทสนทนาชนิดให้เขียนตอบ โดยกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยที่ใช้ในงานวิจัยมีจำนวน 400 คน แบ่งเป็นเพศชาย 200 คน และเพศหญิง 200 คน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบการแสดงความเห็นแย้งจำนวนทั้งสิ้น 4 กลวิธี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความขัดแย้งในการสนทนา (ร้อยละ 34.24) 2) กลวิธีทางภาษาแบบหยอกล้อและ/หรือลดความตึงเครียดในการสนทนา (ร้อยละ 28.19) 3) กลวิธีทางภาษาแบบประชดประชันและ/หรือเสียดสีในการสนทนา (ร้อยละ 20.58) และ 4) กลวิธีทางภาษาแบบเผชิญหน้าและ/หรือเพิ่มความขัดแย้งในการสนทนา (ร้อยละ 16.97) ส่วนผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบการแสดงความเห็นแย้งกับปัจจัยเรื่องสถานการณ์การสนทนาพบว่า สถานการณ์การสนทนามีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบการแสดงความเห็นแย้งของผู้พูดภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากค่า p ของกลวิธีทางภาษาทั้งหมดต่ำกว่าระดับนัยสำคัญที่ 0.050 (P<0.050)
Article Details
References
ภาษาไทย
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (มกราคม-ธันวาคม 2542). หน้าที่ของอุปลักษณ์จากมุมมองของผู้พูดภาษาไทย. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 16 (1), 259-268.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2549). มองคัทลียาจ๊ะจ๋าจากมุมนักภาษา : เนื้อหาและกลวิธี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคำสอนรายวิชา 2201783 การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารอัดสำเนา)
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวคิดและการนำมาวิเคราะห์วาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดรุณี หิรัญรักษ์. (2529). เทคนิคการหาข่าวและการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2543). กฎหมายอาญา: หลักและปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
นารีนาถ สาลี. (2562). การศึกษานามวลีแปลง ความ-ในเฟซบุ๊กแฟนเพจใต้เตียงดารา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 27-45.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2543). ภาษาไทยสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิรัชพร อึ้งอรุณ และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2560). การใช้ภาษาแสดงอารมณ์ความรู้สึกจากเพจใต้เตียงดารา. ใน การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 (น. 221-242). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พีรญา กล่อมจิต. (2561). การใช้ภาษาในเพจใต้เตียงดารา. ใน หนังสือรวมบทความในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2561 (น. 458-465). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เพิ่มทิพย์ บัวเพ็ชร์. (2549). กลวิธีการนำเสนอตนเองในนิตยสารผู้หญิง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2530). ปริจเฉทแนวใหม่. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 9(1), 257-263.
เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2533). การวิเคราะห์ปริจเฉทภาษาไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยาภา ลิ่วเจริญชัย. (2548). การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์แบบทดสอบในนิตยสารไทย.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วราศรี อัจฉริยะเดชา. (2558). การเปิดรับและทัศนคติของกลุ่มคนเจเนอเรชั่น วาย ที่มีต่อข่าวบันเทิงในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสื่อสารองค์กร). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศศิธร ทัศนัยนา. (2535). การใช้ภาษาในข่าวบันเทิงในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย พ.ศ.2534. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2555). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2201725 ภาษากับวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารอัดสำเนา)
โศรยา วิมลสถิตพงศ์. (2549). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการวิจารณ์การเมืองทางอ้อมในบทความแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ไทย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สิทธา พินิจภูวดล. (2540). การใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2560). เนื้อหาและกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในคอลัมน์ซุบซิบประเภทแฉในสื่อออนไลน์ภาษาไทย : กรณีศึกษาคอลัมน์ซุบซิบวิจารณ์แหลกของเจ๊หว่างออนไลน์ในเว็บไซต์เอ็มไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุกัญญา สุดบรรทัด. (2537). กรณีศึกษาเพื่อการเรียนการสอนส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสื่อมวลชนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิยา มาหาเจริญ และจอมขวัญ สุทธินนท์. (2561). คำที่เกิดจากกลวิธีการแปรรูปคำตามเสียงพูดของแอดมินในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจ “ใต้เตียง ดารา” ระหว่างเดือนกันยายน – พฤศจิกายน พ.ศ. 2560. ใน หนังสือรวมบทความในการประชุมวิชาการระดับเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศครั้งที่ 12 (มนุษยศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต) (น. 405-411). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2527). ภาษาที่ใช้ในข่าวบันเทิง. ใน ชลธิรา กลัดอยู่, การใช้ภาษา (น. 28-35). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาต่างประเทศ
Brown, G & Yule, G. (1983). Discourse Analysis. Cambridge: Cambridge University Press.
Halliday, M.A.K. & Ruquiya, Hasan. (1976). Cohesion in English. London: Longman.
Levinson, S. (1983). Pragmatics. London: Cambridge University Press.
Mey, J. (2001). Pragmatics: An introduction. Oxford: Blackwell.
Panpothong, N. (1996). A pragmatic study of verbal irony in Thai. (Doctoral dissertation). University of Hawaii at Manoa.
Schiffrin, D. (1987). Conversational Analysis. In F. J. Newmeyer (Ed.), Language: The Socio-Cultural Content. Cambridge: Cambridge University Press.
Searle, J. R. (1969). Speech acts. New York: Cambridge University Press.
Wilson, D. & Sperber, D. (1992). On verbal irony. Lingua 87, 53-76.