คำลักษณนามบอกรูปทรงในภาษาเขมร

Main Article Content

ปาณิสรา เลาหล่าย
ใกล้รุ่ง อามระดิษ
วิภาส โพธิแพทย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำลักษณนามบอกรูปทรงในภาษาเขมร
โดยเก็บข้อมูลจากพจนานุกรมภาษาเขมร ตำราไวยากรณ์ภาษาเขมร และหนังสือแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาเขมรระดับประถมศึกษาจำนวน 4 เล่ม การศึกษาพบว่าคำลักษณนามบอกรูปทรงในภาษาเขมรที่ปรากฏในกลุ่มข้อมูลมีจำนวน 15 คำ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งของที่มีรูปทรงชัดเจน จำนวน 11 คำ ได้แก่คำว่า ‘ដើម /daəm/ ต้น’ ‘សរសៃ /sɑɑsay/ เส้น’ ‘ក្បាល /kbaal/ หัว’ และ ‘ខ្សែ /ksae/ สาย’ ใช้กับวัตถุที่มีรูปทรงยาว คำว่า ‘សន្លឹក /sɑnlək/ ใบ’ ‘ច្បាប់ /cbap/ ฉบับ’ ‘ផ្ទាំង /pteaŋ/ ผืน’ และ ‘ផែន /phaen/ ปึก’ ใช้กับวัตถุที่มีรูปทรงแบน และคำว่า ‘ដួង /duəŋ/ ดวง’ ‘វង់ /vʊəŋ/ วง’ และ ‘កង់ /kɑŋ/ ท่อน’ ใช้กับวัตถุที่มีรูปทรงกลม และ 2) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งของที่มีรูปทรงไม่ชัดเจน พบจำนวน 4 คำ ได้แก่ คำว่า ‘គ្រាប់ /kroap/ เม็ด’ ใช้กับวัตถุที่มีรูปทรงโค้ง ‘ដុំ /dom/ ก้อน’ ใช้กับน้ำตาลก้อนหรืออิฐ ‘ខ្នង /knɑɑŋ/ หลัง’ ใช้กับบ้าน อาคาร และ ‘គ្រឿង /krɨəŋ/ เครื่อง’ ใช้กับสิ่งของประเภทเครื่องยนต์กลไก การแบ่งประเภทคำลักษณนามทำให้เห็นมุมมองของผู้ใช้ภาษาเขมรในการจำแนกประเภทคำลักษณนามจากการพิจารณารูปทรงที่โดดเด่นเป็นหลัก และยังมีเกณฑ์อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เกณฑ์ขนาด เกณฑ์ความคงตัว หรือเกณฑ์ลักษณะเฉพาะหรือหน้าที่ประจำตัวของวัตถุนั้น ๆ มาพิจารณาประกอบการจำแนกการใช้คำลักษณนามกับสิ่งของรูปทรงต่าง ๆ อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปาณิสรา เลาหล่าย, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย

ใกล้รุ่ง อามระดิษ, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย

วิภาส โพธิแพทย์, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย

References

ภาษาไทย

กรรณิการ์ ชินะโชติ. (2522). คำไทยและอิทธิพลบางประการของภาษาไทยในภาษาเขมร. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2557). ความหลากหลายและความหลอมรวมทางภาษาในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน. วารสารเอเชียปริทัศน์ 35(1), 1-28.

บรรจบ พันธุเมธา. (2516). พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

บรรจบ พันธุเมธา. (2521). พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2525). เอกสารการสอนและแบบฝึกหัดปฏิบัติชุดวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 13. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาภาษาศาสตร์ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น

เมื่อ 17 เมษายน 2564 จาก https://dictionary.orst.go.th/index.php.

เรณู ไชยขันธ์. (2541). คำลักษณนามในภาษาไทยถิ่นใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ศิริวรรณ ประสพสุข และคณะ. (2560). การศึกษาองค์ประกอบด้านความหมายของ

คำลักษณนาม “เครื่อง” ในภาษาเขมร. วารสารวิชาการรมยสาร 15(3), 117-125.

อรวรรณ บุญยฤทธิ์. (2562). ระบบเสียงและไวยากรณ์ภาษาไทยและภาษาเขมร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2544). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

อุไรศรี วรศะริน. (2553). ร่องรอยภาษาเขมรในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาษาต่างประเทศ

ឃឹន សុខ. (2007). វេយ្យាករណ៍ភាសាខ្មែរ. ភ្នំពេញ : រោងពុម្ភមិត្តភាពកម្ពុជា.

ឈុន លិះ. (2007). វេយ្យាករណ៍ខ្មែរ សម្រាប់គ្រប់ថ្នាក់. n.p.

អប់រំយុវជននិងកីឡា, ក្រសួង. (2016). ភាសាខ្មែរអានសរសេរ ថ្នាក់ទី ២. គ្រឹះស្ថានបោះពុម្ពនិងចែកជ្សាយ.

អប់រំយុវជននិងកីឡា, ក្រសួង. (2016). ភាសាខ្មែរថ្នាក់ទី ៦. គ្រឹះស្ថានបោះពុម្ពនិងចែកជ្សាយ.

អប់រំយុវជននិងកីឡា, ក្រសួង. (2016). ភាសាខ្មែរថ្នាក់ទី ៧. គ្រឹះស្ថានបោះពុម្ពនិងចែកជ្សាយ.

អប់រំយុវជននិងកីឡា, ក្រសួង. (2018). គណិតវិទ្យា ថ្នាក់ទី ៣. គ្រឹះស្ថានបោះពុម្ពនិងចែកជ្សាយ.

អប់រំយុវជននិងកីឡា, ក្រសួង. (2017). គណិតវិទ្យា ថ្នាក់ទី ៦. គ្រឹះស្ថានបោះពុម្ពនិងចែកជ្សាយ.

Allan, K. (1977). Classifiers. Language 53 (2), 285-311.

Bisang, W., Wu, Y. (2017). Numeral Classifiers in East Asia. Linguistic 55 (2),

-264.

Dictionary of Old Khmer. (n.d.). Retrieved June 14, 2021, from http://sealang.net/oldkhmer/

Gil, D. (2013).Numeral Classifiers. Retrieved April 15, 2021, from http://wals.info/chapter/55

Headley, R. K. and Chim, R. and Soeum, O. (1997). Modern Cambodian-English Dictionary. Kensington, Md: Dunwoody Press.

Leech, G. (1981). Semantics, the study of meaning (2nd ed.). New Zealand: Penguin Books.

Promrat, W. (1999). A study of the numeral classifiers in present standard Khmer. Bangkok: Mahidol University Press.

T’sou, B. K. (1976). The Structure of numeral classifier system. n.p.