ตอบอย่างไรเมื่อประชาชนคนไทยเห็นว่ารัฐบาล “การ์ดตก”: กลวิธีการกู้ภาพลักษณ์ในปริจเฉทการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

Main Article Content

ประไพพรรณ พึ่งฉิม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตอบคำถามเพื่อกู้ภาพลักษณ์ในปริจเฉทการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยใช้แนวคิดเรื่องการกู้ภาพลักษณ์ (Benoit, 1995, 1997, 2000) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนำมาจากการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ระหว่างวันที่ 13-24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดกรณีมีชาวต่างชาติกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้าประเทศไทย โดยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องการกักกันตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและถูกตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


ผลการวิจัยพบว่า การตอบคำถามในการแถลงข่าวของ ศบค. ปรากฏกลวิธีหลักตามแนวคิดเรื่องการกู้ภาพลักษณ์ดังต่อไปนี้ 1) การปฏิเสธ 2) การลดข้อขุ่นข้องหมองใจ 3) การแสดงความยินยอมที่จะแก้ไข และ 4) การแสดงความรู้สึกผิด เสียใจ และขอโทษ อย่างไรก็ดี ไม่พบกลวิธีการเลี่ยงความรับผิดชอบ กลวิธีหลักที่ใช้มากที่สุดคือการลดข้อขุ่นข้องหมองใจซึ่งประกอบด้วยกลวิธีย่อยหลากหลายวิธี นอกจากนี้ยังพบว่าการเสนอมุมมองใหม่ซึ่งเป็นหนึ่งในกลวิธีย่อยของการลดข้อขุ่นข้องหมองใจนั้นแยกย่อยได้เป็นหลายกลวิธี กลวิธีเหล่านี้ช่วยให้ผู้ฟังนึกถึงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นด้านที่จะช่วยหักล้างภาพลักษณ์ด้านลบของ ศบค. และกู้คืนภาพลักษณ์ที่เสียไปให้กลับคืนมา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ประไพพรรณ พึ่งฉิม, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย

กรมสนับสนุนบริหารสุขภาพ. (2552). ผลการประเมินแผนการสื่อสารในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ภาคประชาชน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์กองสุขศึกษา กรมสนับสุนบริการสุขภาพ.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). เมื่อสำนวน “การ์ดอย่าตก” “ฮิต” ไกลไปถึง “อเมริกา”. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2051705.

ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล. (13-24 กรกฎาคม 2563). ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ศบค. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.youtube.com/playlist?list=PL1_HQ0XLBDSlZXX2vRtbKv9SCYsnjlins

ธรรมวัฒน์ พัฒนาสุทธินนท์, และวิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2564). วัจนกรรมในการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.). วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(3), 91-104.

วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2564). “เราจะผ่านวิกฤตไปด้วยกัน”: การโน้มน้าวใจในปริจเฉท การแถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วรรณวิทัศน์, 21(1), 62-104.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๗๖/๒๕๖๓ เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19).สืบค้นเมื่อ17 กรกฏาคม2564 จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/document/66/2020/03/pdf/Doc_20200318153452000000.Pdf.

ภาษาต่างประเทศ

Ancarno, C. (2015). When are Public Apologies ‘Successful’? Focus on British and French Apology Press Uptakes. Journal of Pragmatics, 84, 139-153.

Benoit, W. L. (1995). Accounts, Excuse and Apologies: A Theory of Image Restoration Strategies. Albany: State University of New York Press.

Benoit, W. L. (1997). Image repair discourse and crisis communication. Public Relations Review, 23(2), 177-186.

Benoit, W. L. (2000). Another visit to the theory of image restoration strategies. Communication Quarterly, 48(1), 40-43.

Benoit, W. L. (2015). Accounts, excuses, and apologies: Image repair theory and research (2nd ed.). New York, NY: State University of New York Press.

Blum-Kulka, S. (1989). Playing It Safe: The Role of Conventionality in Indirectness. In Blum-Kulka, S., House, J., Kasper, G. (eds.). Cross-Cultural Pragmatics: Requests and Apologies (pp. 37-70). Ablex Publishing Corporation.

Coombs, W. T. (2012). Ongoing Crisis Communication: Planning, Managing, and Responding. Los Angeles: SAGE Publications.

Hearit, K. (1995). ‘Mistakes were Made’: Organizations, Apologia, and Crises of Social Legitimacy. Communication Studies, 46(1-2), 1-17.

Huxman, S. S., & Bruce, D. B. (1995). Toward a dynamic generic framework of apologia: A case study of Dow Chemical, Vietnam, and the napalm controversy. Communication Studies, 46(1-2), 57-72.

Searle, John R. (1969). Speech Acts: An Essay in the Philosophy of Language. Cambridge: Cambridge University Press. Scott, M. B., & Lyman, S. M. (1968). Accounts. American sociological review 33, 46-62.

Ware, B. L., & Linkugel, W. A. (1973). They spoke in defense of themselves: On the generic criticism of apologia. Quarterly Journal of speech, 59(3), 273-283.