นางในวรรณคดี “ผู้ถูกตีตรา” กับการนำเสนอใหม่ในบทเพลงร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำตัวละครหญิงจากวรรณคดี ผู้ถูกตีตรามาใช้ในบทเพลงร่วมสมัย และวิเคราะห์บริบทของสังคมต่อการสร้างสรรค์ บทเพลง โดยศึกษาบทเพลงที่มีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.YouTube.com ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554–2564 โดยเป็นบทเพลงมีจำนวนการเข้าชมมากกว่า 1 ล้านครั้ง และคัดเลือกโดยการใช้เกณฑ์ตัวละครหญิงที่ถูกตีตราในวรรณคดีไทยมานำเสนอ มีจำนวน 6 บทเพลง ได้แก่ อาญาสองใจ สองใจ ผีเสื้อสมุทร (รักเกินจะหักใจ) น้ำตาผีเสื้อสมุทร และเมรี (เสี้ยวนาที) ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครหญิงที่ปรากฏ ได้แก่ นางวันทอง นางกากี นางผีเสื้อสมุทร และนางเมรี ถูกหยิบยกมานำเสนอใหม่ผ่านบทเพลงร่วมสมัย 2 ลักษณะ คือการตอบโต้วาทกรรมชายเป็นใหญ่ และการปฏิเสธคุณค่าของรูปลักษณ์ภายนอกและต่อรองความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นผลมาจากบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงที่กระแสการเรียกร้องของสิทธิสตรีและสิทธิมนุษยชนมีบทบาทต่อการท้าทายกรอบค่านิยมเดิมของสังคม ท้ายที่สุด การนำเสนอที่ปรากฏในบทเพลงมิได้เพียงมีคุณค่าในแง่ของการสร้างความบันเทิง แต่ได้แสดงให้เห็นบริบท ของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งยังเป็นพื้นที่ ของการปะทะระหว่างค่านิยมต่าง ๆ ในสังคมไทยอีกด้วย
Article Details
References
กระแต อาร์สยาม. (2558). เมรี. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://youtu.be/wrHBuaQhrNQ.
กรุณพร เชษฐพยัคฆ์. (2563). เพราะรูปลักษณ์ไม่ใช่สิ่งกำหนดคุณค่า เมื่อคณะ-มหา’ลัย ยกเลิก-ปรับเปลี่ยนระบบดาว-เดือน. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2564 จาก https://thematter.co/social/freshy-star-in-university.
กฤษณา รักษาโฉม, พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ วันจันทร์) และอรอุมา อสัมภินวัฒน์. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1498.
กากี กลอนสุภาพ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://vajirayana.org/กากี-กลอนสุภาพ/กากี-กลอนสุภาพ
ใกล้รุ่ง ภูอ่อนโสมและรัญชนีย์ ศรีสมาน. (2563). อำนาจของผู้หญิง: การท้าทายความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับแนวคิดปิตาธิปไตยในนวนิยายสมัยใหม่. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 43-61.
ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุทรวชิรญาณ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ/ตอนที่-๓๕-ขุนช้างถวายฎีกา
ไข่มุก ชนัญญา. (2564). น้ำตาผีเสื้อสมุทร. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://youtu.be/gk9jXmGo8g8.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2556). ผู้หญิงในสังคมและการเมือง. ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศึกษา: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดา เอ็นโดรฟิน. (2564). สองใจ[เพลงจากละครวันทอง] สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://youtu.be/Ei1XTuWjoa8.
ดารัณ อุดมรัตนปภากุล. (2562). กากี สีดา วันทอง ในเพลงรักร่วมสมัย: การศึกษาภาพตัวแทนความเป็นหญิงในเพลงที่ประกอบด้วยนางในวรรณคดี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธนกร เพชรสินจร. (2557). วิเคราะห์ตัวละครชายขอบในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน: อำนาจ พื้นที่ และการเมืองในวรรณกรรมไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 1-24.
ธันยพร บัวทอง. (2562). อนาคตใหม่ : ส.ส. ข้ามเพศคนแรกของรัฐสภาไทย กับการแต่งกายตามเพศสภาพ และก้าวแรกของความเป็นมนุษย์เท่ากัน. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-48382940
นันทพร พวงแก้ว. (2527). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเรื่อง พระรถ-เมรี ฉบับต่าง ๆ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พรรณธิชา เพชรรักษ์. (2556). ความงามแห่งมายา (ศิลปนิพนธ์ ปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
พระรถคำฉันท์. (ม.ป.ป). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://vajirayana.org/พระรถคำฉันท์/พระรถคำฉันท์
พระอภัยมณี. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://vajirayana.org/พระอภัยมณี/ตอนที่-๙-พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
ไพลิน รุ้งรัตน์. (2537). ภาพและบทบาทของผู้หญิงในวรรณกรรมไทยภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475. ใน คือหญิงอย่างยิ่งนี้: เรื่องสั้น บทกวีที่เกี่ยวกับแม่ เมียและลูกสาวของคุณเอง (น. 11-21). กรุงเทพฯ: สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย.
มินตรา น่านเจ้า. (2559ก). ผีเสื้อสมุทร (รักเกินจะหักใจ). สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://youtu.be/yaSSPgUssCI.
มินตรา น่านเจ้า. (2559ข). อาญาสองใจ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https:/www.youtube.com/watch?v=WjhxcvMzFFM.
มินตรา น่านเจ้า. (2561). กากีหลงยุค. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://youtu.be/rVPJC_r5SNU.
มินตรา น่านเจ้า. (2563). เมรี (เสี้ยวนาที). สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://youtu.be/LOovvPNgL9Q.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2534). ตัวละครหญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.1893 – 2394) (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วรรณธิรา วิระวรรณ. (2560). ภาพเชิงบวกและภาพเชิงลบของขุนแผน: ค่านิยมกับความสมจริง กรณีศึกษาเสภาเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” สำนวนรัชกาลที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(2), 131-166.
วรรณวิภา วงษ์เดือนและวีรวัฒน์ อินทรพร. (2561). ตัวละครจากวรรณคดีไทยในบทเพลงไทยสากล: ความนิยมและวิธีการนำเสนอตัวละครในวรรณคดีในบทเพลง. Veridian E-Journal, Silpakorn University: Humanities, Social Sciences and arts, 12(1), 274-293.
วัศรนันทน์ ชูทัพ. (2561). ความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากความรักของตัวละครหญิง : มองผ่านการตีความในบทเพลงของ มินตรา น่านเจ้า. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(1), 208–229.
วารุณี ภูริสินสิทธ์. (2545). สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ
สรยา รอดเพชร, ทัศนีย์ ทานตวาณิชและนัทธนัย ประสานนาม. (2561). ผู้หญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายของอุทิศ เหมะมูล.วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 55.
สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2514). พระอภัยมณี: การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิจารณ์(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
อภินันท์ ธรรมเสนา. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ใช่ “คนอื่น”. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://theactive.net/read/the-indigenous-peoples-of-thailand.
อรจิรา อัจฉริยไพบูลย์. (2560). สตรีนิยม”: การศึกษาวิธีวิทยาผ่านงานวิทยานิพนธ์ร่วมสมัยของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 137-148.
อาทิตย์ ดรุนัยธร. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมการแสดงเรื่องกากี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
GMM Grammy. (2564). ดา เอ็นโดรฟิน” หวนร่วมงาน “ช่องวัน31” ปล่อยซิงเกิลใหม่ “สองใจ” ลงละคร “วันทอง สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จากhttps://www.gmmgrammy.com/newsroom/news-single.php?id=8375