การกล่าวซ้อนในบทสนทนาภาษาไทย: กรณีศึกษารายการ “โหนกระแส”

Main Article Content

โสภิดา โอชาพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งและหน้าที่ของถ้อยคำแสดงการกล่าวซ้อน 2 ประเภท ได้แก่ การกล่าวแทรก (interruptions) และการกล่าวพร้อมกัน (overlaps) ในบทสนทนาภาษาไทยที่มีผู้ร่วมสนทนามากกว่า 2 คนขึ้นไปและผู้ให้สัมภาษณ์เป็นคู่กรณีกัน โดยเลือกเก็บข้อมูลบทสนทนาจากรายการ “โหนกระแส” จำนวน 4 ตอน รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 11 นาที 11 วินาที ผลการวิจัยพบว่า ถ้อยคำแสดงการกล่าวซ้อนปรากฏ 2 ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งที่กล่าวแทรกหน่วยผลัด และตำแหน่งที่กล่าวพร้อมกัน โดยถ้อยคำแสดงการกล่าวแทรกในการสนทนาปรากฏมากกว่าถ้อยคำแสดงการกล่าวพร้อมกัน ด้านหน้าที่ของถ้อยคำแสดงการกล่าวซ้อนแบ่งออกเป็น 12 หน้าที่ ได้แก่ 1) โต้แย้งประเด็นสนทนา 2) ถามคำถาม 3) ให้ข้อมูล 4) ตอบคำถาม 5) แสดงทัศนคติในทางลบ 6) ยับยั้งผลัดสนทนา 7) แนะความ 8) แสดงการเป็นผู้ฟัง 9) สรุปประเด็นสนทนา 10) ปรับแก้ถ้อยคำ 11) เรียกความสนใจ และ 12) เตือน ทั้งนี้หน้าที่ที่ปรากฏใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ โต้แย้งประเด็นสนทนา ถามคำถาม และให้ข้อมูล ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

โสภิดา โอชาพันธ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์

References

ภาษาไทย

กมลวรรณ ปกรณ์ขจรนาวิน. (2549). กลวิธีการถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์รายการ "ถึงลูกถึงคน" (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นริศรา หาสนาม. (2558). ถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังของผู้ร่วมสนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันในบทสนทนาภาษาไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นิตยาภรณ์ ธนสิทธิสุรโชติ. (2545). กลไกการเปลี่ยนประเด็นในการสนทนาภาษาไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นิยะดา รสิกวรรณ. (2544). การครอบครองการสนทนาในสถานการณ์การสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ประไพพรรณ พึ่งฉิม. (2542). กลวิธีการถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์สองประเภท (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พรรณธร ครุธเนตร. (2557). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ยุติการสนทนาที่มีความขัดแย้งในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ภาษาต่างประเทศ

Goffman, E. (1981). Forms of talk. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.

James, D., & Clark, S. (1993). Women, men, and interruptions: A critical review. In D. Tannen (Ed.), Gender and conversational interaction (pp. 231-280). New York: Oxford University Press.

Sacks, H., Shegloff, E. & Jefferson, G. (1974). A simplest systematics for the organization of turn-taking in conversation. Language, 50, 696-735.

Zimmerman, D. & West, C. (1975). Sex roles, interruptions and silences in conversations. In B. Thomas & N. Henly (Eds.), Language and Sex (pp. 105-129). Rowley, Mass: Newbury House.