เรื่องเล่าแนวสยองขวัญในเฟซบุ๊กเพจ “เดอะเฮาส์”: การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์

Main Article Content

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาปริจเฉทเรื่องเล่าแนวสยองขวัญในเฟซบุ๊กเพจ “เดอะเฮาส์” (THE HOUSE) ตามแนวคิดปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ โดยมุ่งพิจารณาเนื้อหา โครงสร้างของการนำเสนอ และกลวิธีทางภาษาที่เจ้าของเรื่องเล่าใช้ในปริจเฉทดังกล่าว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลปริจเฉทเรื่องเล่าแนวสยองขวัญในเฟซบุ๊กเพจ “เดอะเฮาส์” ที่ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 12 เดือน รวมปริจเฉทเรื่องเล่าจำนวนทั้งสิ้น 312 ปริจเฉท ผลการวิจัยด้านเนื้อหาพบว่าประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ 1. เนื้อหาของปริจเฉทเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับบุคคลลี้ลับ 2. เนื้อหาของปริจเฉทเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสิ่งของลี้ลับ และ 3. เนื้อหาของปริจเฉทเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ลี้ลับ ขณะที่ผลการวิจัยด้านโครงสร้างของการนำเสนอปริจเฉทเรื่องเล่าแนวสยองขวัญพบว่าประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนก่อนเนื้อหาของปริจเฉทเรื่องเล่า 2. ส่วนเนื้อหาของปริจเฉทเรื่องเล่า และ 3. ส่วนหลังเนื้อหาของปริจเฉทเรื่องเล่า ส่วนผลการวิจัยด้านกลวิธีทางภาษาที่เจ้าของเรื่องเล่าใช้ในปริจเฉทพบจำนวน 8 กลวิธี และเมื่อพิจารณากลวิธีทางภาษาดังกล่าวตามเป้าหมายในการสื่อสารพบจำนวนทั้งสิ้น 5 กลวิธี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อทำให้ผู้รับสารเห็นภาพและ/หรือเสียงอย่างเป็นรูปธรรม 2. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อเรียกร้องและดึงดูดความสนใจจากผู้รับสาร 3. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้รับสารเชื่อหรือคล้อยตามสารที่นำเสนอ 4. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ส่งสารที่มีต่อเหตุการณ์หรือเรื่องราวสยองขวัญ และ 5. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อสร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ทั้งนี้เมื่อพิจารณาลักษณะเด่นของปริจเฉทเรื่องเล่าแนวสยองขวัญในเฟซบุ๊กเพจ “เดอะเฮาส์” พบว่า ปริจเฉทเรื่องเล่าข้างต้นมีลักษณะเด่น 2 ประการ คือ 1. ลักษณะเด่นด้านโครงสร้างของการนำเสนอปริจเฉทเรื่องเล่า และ 2. ลักษณะเด่นด้านกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในปริจเฉทเรื่องเล่า

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์

References

ภาษาไทย

กฤษดาวรรณ หงส์ลดารมภ์ และธีรนุช โชคสุวณิช. (2551). วัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา เจษฏาคม. (2552). การศึกษาวิเคราะห์สิ่งเหนือธรรมชาติในเรื่องสั้นของเหม เวชกร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

กาญจนา นาคสกุล. (2525). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพ: เคล็ดไทย.

ขวัญแก้ว งามโสภณ. (2561). เรื่องเล่าในรายการวิทยุเดอะช็อก: ในฐานะนิทานผีในวัฒนธรรมประชานิยม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิณณะ รุจิเสนีย์. (2554). การวิเคราะห์นวนิยายเหนือธรรมชาติของพงศกร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

จุฬาวดี วรเศรษฐศักดิ์. (2548). การวิเคราะห์เรื่องเล่าผีในรายการวิทยุ: “เดอะช็อค”. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2539). การวิเคราะห์ระบบข้อความในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2527). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ญาณิศา สระบัว. (2560). เรื่องเล่าสยองขวัญในรายวิทยุ “เดอะช็อค”: การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. ภาษาและวรรณคดีไทย, 5(19), 123-159.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2542). หน้าที่ของอุปลักษณ์จากมุมมองผู้พูดภาษาไทย. ภาษาและวรรณคดีไทย, 16(1), 156-175.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2549). มองคัทลียาจ๊ะจ๋าจากมุมนักภาษา: เนื้อหาและกลวิธี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคำสอนรายวิชา 2201785 การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารอัดสำเนา).

เดอะเฮาส์. (2564). เรื่องเล่าสยองขวัญเกือบทศวรรษ. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564 จาก www.THE HOUSE.com

ตรีศิลป์ บุญขจร และพรทิพย์ ภัทรนาวิก. (2524). ภาษากับการโฆษณา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2529). ศิลปะการเขียนภาษาไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทอปัด เอี่ยมอุดม. (2554). คุณลักษณะของภาพยนตร์ผีตลกไทย ลักษณะชนชั้นและอุดมการณ์ชนชั้นทางสังคมที่ปรากฏในภาพยนตร์ผีตลกไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิทยุและโทรทัศน์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เทพี จรัสจรุงเกียรติ และพนมพร นิรัญทวี. (2540). การใช้ภาษาไทย 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนัท อนุรักษ์. (2555). มโนทัศน์และการสร้างความกลัวในสื่อบันเทิงคดีสยองขวัญไทย(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิทยุและโทรทัศน์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธิดา โมสิกรัตน์. (2543). ศิลปะการเขียนสำหรับครู. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นลิน สินธุประมา. (2560). เรื่องผีในสังคมไทยร่วมสมัย: บทบาทและการผสมผสานทางวัฒนธรรม (ปริญญานิพนธ์ สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นววรรณ พันธุเมธา. (2528). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสตรีอุดมศึกษา.

น้ำเพชร สายบุญเรือน. (2545). การวิเคราะห์ปริจเฉทรายการตลกในภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 3(12), 14-28.

ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์. (2524). มานุษยวิทยาสำหรับการศึกษาคติชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพิชชา บุญบรรจง. (2554). แม่นาก: มายาคติ “ความเป็นเมีย” ที่ถูกประกอบสร้างในละครโทรทัศน์ภาพยนตร์และละครเวที (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการละคร). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พรรณธร ครุธเนตร. (2547). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการโจมตีรัฐบาลทางอ้อมในปริจเฉทการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พัทยา สายหู. (2537). ความเชื่อและค่านิยมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พิมพ์นภัส จินดาวงค์. (2554). การดำรงอยู่และบทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีอารักษ์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เพิ่มทิพย์ บัวเพ็ชร์. (2549). กลวิธีการนำเสนอตนเองในนิตยสารผู้หญิง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2530). ปริจเฉทแนวใหม่. ภาษาและวรรณคดีไทย, 9 (19), 257-263.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2533). การวิเคราะห์ปริจเฉทภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยาภา ลิ่วเจริญชัย. (2548). การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์แบบทดสอบในนิตยสารไทย(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วารุณี พลบูรณ์. (2543). การใช้ภาพพจน์ในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชุดา ปานกลาง. (2539). การวิเคราะห์การถ่ายทอดความหมายเรื่อง "ผี" ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แม่นาคพระโขนง" พ.ศ. 2521-2538 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิทยุและโทรทัศน์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ. (2543). การวิเคราะห์ปริจเฉททอล์คโชว์ของทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2525). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2546). ความต่อเนื่องของปฏิสัมพันธ์ในห้องสนทนาไทย: การส่งผลต่อกันระหว่างการเชื่อมโยงความ การมอบผลัด และความเกี่ยวข้องของเรื่องที่สนทนา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศุภลักษณ์ ปัญโญ. (2551). การศึกษาบทบาทของผีในนิทานพื้นบ้านล้านนา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณกรรมลานนา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

โศรยา วิมลสถิตพงศ์. (2549). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการวิจารณ์การเมืองทางอ้อมในบทความแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). วจนะวิเคราะห์: การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สังวาลย์ คงจันทร์. (2533). คำกริยาบอกเจตนาในการสื่อสารในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2559). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วรรณวิทัศน์, 8(19), 21-34.

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2561). เนื้อหาและกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในคอลัมน์ซุบซิบประเภทแฉในสื่อออนไลน์ภาษาไทย: กรณีศึกษาคอลัมน์ซุบซิบวิจารณ์แหลกของเจ๊หว่างออนไลน์ในเว็บไซต์เอ็มไทย (รายงานการวิจัย สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สิริมา เชียงเชาว์ไว. (2543). การวิเคราะห์การสนทนาระหว่างกุมารแพทย์กับผู้ป่วย(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุทธิรักษ์ วินิจสร. (2545). เรื่องเล่าลี้ลับในรายการวิทยุ โทรทัศน์และโทรศัพท์(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิทยุและโทรทัศน์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ. (2529). รายงานวิจัยเรื่องค่านิยมและระบบค่านิยมไทย: เครื่องมือในการสำรวจวัด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

สุพัตรา สุภาพ. (2529). สังคมและวัฒนธรรมไทย: ค่านิยม ครอบครัว ศาสนาและประเพณี. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เสรี วงษ์มณฑา. (2528). การใช้ภาษาสำหรับการสื่อสารและสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อคิน รพีพัฒน์. (2539). มองสังคมและวัฒนธรรมไทยผ่านชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2543). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพิกา ยะคำป้อ. (2554). พลวัตและบทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์บ้านที่บ้านไม้ลุงขน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อำไพ เจริญกุล. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านประเภทผีภาคอีสานและภาคใต้ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ภาษาต่างประเทศ

Bettinghaus, E. P. (1968). Persuasive communication. New York: Holt Renehautand Winston.

Hovland, C. (1965). Experiments on mass communication. New York: Wiley.

Klausner, W. J. (1981). Reflections on Thai Culture. Bangkok: Suksit Siam.

Longacre, R. E. (1983). The Grammar of Discourse. New York Plenum Press.

Tannen, D. (1989). Talking voices: repetition, dialogue, and imagery in conversational discourse. Cambridge: Cambridge University.