การศึกษาเชิงวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับตำรายาแพทย์แผนไทยวัดจูงนาง ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ปาลิตา ทองเพล
พรนภา ตันกายา
สรัญรัตน์ ทอดเสียง
สุมลทรา พ้นเวร
ภัครพล แสงเงิน

บทคัดย่อ

  บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร มุ่งศึกษาสารัตถะและความถี่ของเภสัชวัตถุในตำรายาแพทย์แผนไทยวัดจูงนาง ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เอกสารปฐมภูมิจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.0277 ระบุวันที่บันทึก คือ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2418 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


   ผลการศึกษาพบว่า มีตำรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 555 ตำรับ สามารถจำแนกสารัตถะของตำรับยาตามกลุ่มอาการของโรค 5 อันดับแรกได้ดังนี้ อันดับที่ 1 ประเภทยาแก้ไข้ พบจำนวนทั้งสิ้น 185 ตำรับ อันดับที่ 2 ประเภทยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา พบจำนวนทั้งสิ้น 102 ตำรับ อันดับที่ 3 ประเภทยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร พบจำนวนทั้งสิ้น 99 ตำรับ อันดับที่ 4 ประเภทยารักษากลุ่มซาง ตานขโมย พบจำนวนทั้งสิ้น 71 ตำรับ และอันดับที่ 5 ประเภทยารักษากลุ่มโรคสันนิบาต (โรครวม) พบจำนวนทั้งสิ้น 52 ตำรับ


   นอกจากนี้ยังพบพืชวัตถุจำนวนทั้งสิ้น 506 ชนิด โดยพบขิงมีความถี่สูงสุด พบสัตว์วัตถุจำนวนทั้งสิ้น 57 ชนิด โดยพบวัวมีความถี่สูงสุด พบธาตุวัตถุจำนวนทั้งสิ้น 34 ชนิด โดยพบน้ำประสานทองมีความถี่สูงสุด และพบน้ำกระสายยา จำนวนทั้งสิ้น 56 ชนิด โดยพบน้ำมีความถี่สูงสุด ตำรายาแพทย์แผนไทยวัดจูงนาง ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกจึงมีคุณค่าสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการรักษาโรคต่าง ๆ และการใช้เภสัชวัตถุที่หลากหลายของชาววัดจูงนางในอดีตสมัย พ.ศ. 2418 อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรวิชญ์ บุญจันทร์, ธนัญชัย น่วมไกรนอก, พงศ์พล วุ่นสุข, พรเทพ ม่วงคำ และภัครพลแสงเงิน. (2564). ชื่อสมุนไพรในตำรายา วัดวังพรม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงอักขรวิทยา (วิจัยศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

กานต์ธีรา จางตระกูล, กุลศรม์ เวชกุล, อาภาภัทร ธนะบุญ และภัครพล แสงเงิน. (2563). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัด ท่านา ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน รายงานประกอบการสัมมนาทางวิชาการ “พิพิธวิจัย วิจิตรวิทยา ภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2562 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (น.167-179). พิษณุโลก: สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกศินี แก้วนิล, นิสิต เมฆแจ้ง, เพ็ญพิชชา พรมแตง และภัครพล แสงเงิน. (2563). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดสระไม้แดง ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ศิลป์พิบูล 2(2), 1-15.

ขวัญชนก จักรขุนซี, ปัณฑิตา สิงห์กวาง, ประภาศิริ ด้วงรอด และภัครพล แสงเงิน. (2564). ชื่อสมุนไพรในตำรายาวัดบุใหญ่ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงอักขรวิทยา (วิจัยศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. (2560). คำอธิบายตำราพระ โอสถพระนารายณ์ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม 2542 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา.

ชลิตา สอนจันทร์, ศิริวรรณ เพ็ชรมณี, อัจฉราภรณ์ ใจแก้ว และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดสันติกาวาส อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น.4020-4034). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ณัฐมล พรมรอด, นิตยา ทองย้อย, ภัชรีย์ญา อ่วมอิ่มพืช, ธนศักดิ์ จันทร์สดใส และภัครพล แสงเงิน. (2564). รูปแบบการเขียนชื่อพืชวัตถุในตำรายา วัดไพรสุวรรณ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.0264. อักษราพิบูล, 2(2), 57-82.

ตำรายาแพทย์แผนไทยวัดจูงนาง ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.0277. (2418). เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ตำรายาแพทย์แผนไทยวัดพรหมพิราม เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.0215. (2410). เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

นันทรัตน์ ยอดกระโหม, สาวิตรี แก้วเกตุ และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดกรับพวงเหนือ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 4035-4048). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์. (2542). ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2553). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พอฤทัย ปัญญาจักร์, มณฑาทิพย์ บุญแก้ว และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดสะพานหิน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 3645-3657). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภัครพล แสงเงิน. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบตำรับยาในตำรายาวัดใหม่พรหมพิรามกับตำรับยาในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง. ไทยคดีศึกษา, 18(2), 169-218.

ภัครพล แสงเงิน และอุเทน วงศ์สถิตย์. (2565). ตำรับยากวาดคอจากตำรายาแพทย์แผนไทยของอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ไทยศึกษา, 18(1), 29-60.

ลัดดาวัลย์ ครูปัญญามาตย์ (บ.ก.). (2558). ตำราเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม.

สมุดภาพนิทรรศการ 230 ปี วัดพระเชตุพน ความทรงจำของโลก. (2561). กรุงเทพฯ: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม.

ภาษาต่างประเทศ

UNESCO. (2020). Basic Texts of the 2003 Convention for the safeguarding of the Intangible Cultural Heritage (2020) Edition. Paris: UNESCO.