การเดินทางของตำนานตาม่องล่ายจากอ่าวไทยสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ: การศึกษาการแพร่กระจายและแตกเรื่องของตำนานตาม่องล่ายในสังคมไทย

Main Article Content

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

บทคัดย่อ

   บทความนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งสำรวจและรวบรวมตำนานประจำถิ่นที่แตกเรื่องจากตำนานเรื่องตาม่องล่าย และวิเคราะห์ลักษณะการแตกเรื่องของตำนานประจำถิ่นที่แตกเรื่องจากตำนานเรื่องตาม่องล่ายซึ่งเป็นตำนานประจำถิ่นที่แพร่หลายในชุมชนชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งในอ่าวไทย คือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยใช้ระเบียบวิธีทางคติชนวิทยา ผลการวิจัยพบว่าตำนานตาม่องล่ายมีการแตกเรื่องเป็นตำนานเรื่องต่าง ๆ จำนวน  16 เรื่อง แบ่งลักษณะการแตกเรื่องที่พบได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การคงโครงสร้างเดิมแต่เปลี่ยนรายละเอียดในพฤติกรรม 2) การนำเรื่องบางตอนไปแต่งเป็นนิทานเรื่องใหม่       3) การเพิ่มโครงเรื่องย่อย และ 4) การผนวกเรื่อง โดยอาณาบริเวณของพื้นที่ที่กล่าวถึงในตำนานปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ในลุ่มน้ำภาคกลาง พื้นที่ในภาคตะวันออก และภูเขาในภาคใต้ การแตกเรื่องดังกล่าวสะท้อนความสัมพันธ์และการเดินทางของคนระหว่างภูมิภาค รวมถึงเครือข่ายทางสังคมของผู้คนในอ่าวไทย ซึ่งเป็นผลจากการเดินทางเพื่อการค้าจากเมืองท่าสู่เมืองต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษา. (2559). วรรณกรรมพื้นบ้าน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

ขวัญทิวา ผิวผาด, กุลธีรา อุดมพงศ์วัฒนา และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2555). ความเชื่อ การบนบาน และการใช้ของแก้บนศาลเจ้าแม่นมสาว เกาะนมสาว ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

จรรยา ตัณฑ์โพธิ์ประสิทธิ์ และพรทิพย์ จิรเมธาธร. (2526). วิเคราะห์เปรียบเทียบเพลงปรบไก่ บ้านดอยข่อย และ กรมศิลปากร. เพชรบุรี: วิทยาลัยครูเพชรบุรี .

จิตราภรณ์ ฟักโสภา. (2549). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งกับปัญหาสิทธิมนุษยชนของชายฝั่งจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด. สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

จุฑามาศ ประมูลมาก และสุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2554). ตำนานว่าด้วย “ธิดาพระเจ้ากรุงจีน” ในสังคมสยาม. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(4), 44-68.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2519). จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. 107 และ 108. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนิท สุมาวงศ์ ป.ช., ป.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2519.

ชื่น ศรียาภัย. (2497) นิทานม่องหล้ายคำกลอน สำนวนเก่า. ใน อภินันทนาการล่วงหน้าแด่ท่านที่นับถือ ญาติและมิตรทั้งปวง ก่อนจะถึงวันที่จำต้องลาจากกันไปชั่วนิรันดร (น. 49-116). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ดนัย วินัยรัตน์. (2551). การสร้างความหมายภูมิลักษณ์ท้องถิ่นผ่านนิทานพื้นบ้านเรื่องตาม่องล่าย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

โดม ไกรปกรณ์. (2557). กําเนิด “ภูมิกายา” และพื้นที่สมัยใหม่ของล้านนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. หน้าจั่ว, 11, 18-33.

นรเนติบัญชากิจ, หลวง. (2504). นิราศตังเกี๋ย. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

ปรมินท์ จารุวร (2547). ความขัดแย้งและการประนีประนอมในตำนานปรัมปราไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ประจักษ์ ประภาพิทยากร (2512). นิยายตาม่องล่าย. ใน อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ คุณแม่งิ้ว เลาห์เรณู และ นางหวาด เทพวัลย์ (น. 13-32). ม.ป.ท: ม.ป.พ.

ประเสริฐอักษร (นามแฝง). (2471). เรื่องเจ้าลาย. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรนิติ.

พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น. (2504). นิราศถลาง. ใน นิราศบางเรื่องของสุนทรภู่และนายมี (น. 89-115). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

พวงเพ็ญ สว่างใจ. (2556). จากนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ตาม่องล่าย” สู่บทละครเรื่อง “เจ้าลาย” มรดกทางวรรณคดีที่สะท้อนวิถีไทย. การประชุมทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในงานราชภัฏเพชรบุรีวิชาการ “สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาสู่อาเซียน” วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556.

พิทยาลงกรณ์, พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2518). สามกรุง. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2549). แบบเรื่องนิทานสังข์ทอง: ความแพร่หลายและการแตกเรื่อง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวัฒย์ เกษมศรี, หม่อมราชวงศ์. (2557). ประชุมเอกสารเก่าเมืองนครศรีธรรมราชในรัชกาลที่ 4. นนทบุรี: องศาสบายดี.

สมุดราชบุรี. (2468). พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.

สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2556). ตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง: ความสมานฉันท์ในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา สุจฉายา. (2563). วิถีชนบนตำนาน นางทองร่อนแห่งเขาสามแก้ว. วารสารเมืองโบราณ, 46(1), 117-120.

สุดแดน สุทธิลักษณ์ และวัลลภ ทองอ่อน. (2564). พุทธภูมิกายาและล้านนาประเทศ: อ่านตำนานพระเจ้าเลียบโลก ผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: อี.ที.พับลิชชิ่ง.

เสือคง (นามแฝง). (2526). บทละครเรื่อง "ตาม่องล่าย". วารสารมุนี วิทยาลัยครูเพชรบุรี, 4(1-3), 12-35.

แสงจินดา กันยาทิพย์. (2541). ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน. ใน สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง (น. 66-71). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

โสภณพัทลุงกุล (สว่าง ณ พัทลุง), พระยา. (2529). นิราศเมืองปะเหลียน. พัทลุง: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง โรงเรียนสตรีพัทลุง.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2548). "เมื่อพระอิศวรชวนพระพุทธเจ้าซ่อนหา" ต้นเค้าและปริศนาธรรมจากวรรณกรรมที่ปรากฏอนุภาค*ซ่อนหาระหว่างพระอิศวรกับพระพุทธเจ้า. The Journal: Journal of the Faculty of Arts Mahidol University, 1(2), 15-34.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2555). พระวรวงศ์: วรรณกรรมท้องถิ่นที่แสดงร่องรอยความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี, 4(2), 104-132.