“สุขจะเสี่ยง” ความหวังรายปักษ์ของมวลชน: การศึกษาบทบรรณาธิการในนิตยสารใบ้หวยตามแนวปริจเฉทวิเคราะห์

Main Article Content

ชาญวิทย์ เยาวฤทธา
วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

บทคัดย่อ

การซื้อหวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่คนไทยให้ความสำคัญมาอย่างยาวนาน อีกทั้งน่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้นิตยสารใบ้หวยและรายละเอียดต่าง ๆ ภายในนิตยสารได้รับความสนใจอยู่เสมอ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการสื่อสาร โครงสร้างปริจเฉท และกลวิธีทางภาษาในบทบรรณาธิการในนิตยสารใบ้หวย โดยศึกษาองค์ประกอบการสื่อสารตามทฤษฎี ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารของเดลล์ ไฮมส์ (Hymes, 1974) ศึกษาโครงสร้างปริจเฉทโดยพิจารณาจากการปรากฏจริงในปริบทของข้อมูล และศึกษากลวิธีทางภาษาตามแนวทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ทั้งนี้ ข้อมูลที่นำมาศึกษามาจากนิตยสารใบ้หวยจำนวน 22 ชื่อ รวมทั้งสิ้น 92 ฉบับ


ผลการวิจัยด้านองค์ประกอบการสื่อสารพบว่า บทบรรณาธิการในนิตยสารใบ้หวยเป็นการส่งสารหรือสื่อสารระหว่างบรรณาธิการกับผู้อ่านซึ่งถูกกำกับด้วยความเชื่อและค่านิยมเรื่องการเสี่ยงโชคในสังคมไทย ด้านโครงสร้างปริจเฉทพบทั้งสิ้น 5 ส่วน ได้แก่ ชื่อบทบรรณาธิการ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนสรุป และส่วนปิด ขณะที่ด้านกลวิธีทางภาษาพบกลวิธีสำคัญ 4 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำเรียกแสดงความเป็นมิตรหรือให้เกียรติ การใช้ถ้อยคำสื่อผลด้านบวก การใช้มูลบท และการใช้อุปลักษณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชาญวิทย์ เยาวฤทธา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์

References

ภาษาไทย

กัญญาพักตร์ แก้วก่ำ. (2561). การศึกษาปริจเฉทรายการ “เทยเที่ยวไทย” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2552). การเขียนสร้างสรรค์ทางสื่อสิ่งพิมพ์: Idea ดี ๆ ไม่มีวันหมด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จุฬธิดา อภัยโรจน์. (2549). การศึกษาปริจเฉทรายการขายตรงสินค้าเครื่องสำอางทาง โทรทัศน์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เฉลิมพงษ์ พงษ์ประชา. (2558). มิติเชิงสังคมของพฤติกรรมการเล่นหวยใต้ดินในประเทศไทย. วารสารบริหารท้องถิ่น, 8(4), 64-75.

ชื่นสุมล บุนนาค และวสันต์ เจนร่วมจิต. (2561). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ของกลุ่มเจนเนอเรชั่น B, X และ Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(1), 103-122.

ฌานิศ วงศ์สุวรรณ และอุษณา อารี. (2560). การศึกษาวจนลีลาในบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 1-26.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2542). หน้าที่อุปลักษณ์จากมุมมองของผู้พูดภาษาไทย. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 16, 249-268.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคำสอนรายวิชา ๒๒๐๑ ๗๘๓ การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทยรัฐ. (2559). แสวงหาเลขเด็ด! คอหวยบูชาไม้มะค่า-ต้นตะเคียน ลือให้โชค 2 งวดติด. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562 จาก https://www.thairath.co.th/news/local /northeast/639720

ไทยรัฐ. (2560). ชาวระยองแห่ขูดเลข กราบไหว้ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ที่ขึ้นใน สภ.เมืองระยอง. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562 จาก https://www.thairath.co.th/new

s/local/east/1154068

ไทยรัฐ. (2562). สุดขลัง ไม่ต้องขูด หวยเจ้าแม่ตะเคียน หยดน้ำตาเทียนลงแขนเลขผุด. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562 จาก https://www.thairath.co.th/news/local

/northeast/1650068

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2550). หวย: เส้นทางลัดสู่ความร่ำรวยหรือหายนะอย่างยั่งยืน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 11(21), 71-85.

ธีรนุช โชคสุวณิช. (2543). การศึกษาวิเคราะห์ภาษาของบทความแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ไทย (พ.ศ. 2536-2540). (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2557) บทบาทของความเชื่อโชคลางต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1348-1361.

นาฏยา พิลางาม. (2560). การวิเคราะห์บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน สมัยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 42-50.

ประคอง นิมมานเหมินท์ และคณะ. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4: วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ประไพพรรณ พึ่งฉิม. (2560). ปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทย: การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์.(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พรเพ็ญ วรสิทธา. (2553). พฤติกรรมการเล่นหวยและความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออมระยะยาว. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 50(3), 75-89.

พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2557). สถานการณ์การเสี่ยงโชคของคนไทย: การวิเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายสังคม. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เพียงเพ็ญ ทุมมานนท์. (2536). บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย: เนื้อหาและกระบวนการเขียน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาการหนังสือพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มัญชุสา อังคะนาวิน. (2547). ปริจเฉทสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2556). วารสารศาสตร์เบื้องต้น ปรัชญาและแนวคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วาริศา พลายบัว. (2547). การวิเคราะห์บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์แนวเศรษฐกิจ.วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 4(1), 128-139.

วีระพรรณ จันทร์เหลือง. (2559). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2553). โครงการวาทกรรม “ความเป็นผู้หญิง” ในนิตยสารสุขภาพ และความงามภาษาไทย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สิริวรรณ นันทจันทูล. (2546). การเขียนเพื่อการสื่อสาร 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2552). วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

PPTV HD 36. (2562). กองสลากฯ พิมพ์หวยเพิ่มเป็น 100 ล้านฉบับ. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562 จาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/105416

ภาษาต่างประเทศ

Baker, M. (2011). In Other Words: A Coursebook on Translation. London: Routledge.

Brown, G. & Yule, G. (1983). Discourse Analysis. Cambridge: Cambridge University Press.

Huang, Y. (2015). The Oxford Dictionary of Pragmatics. Oxford: Oxford University Press.

Hymes, D. (1974). Foundations in Sociolinguistics: An Ethnographic Approach. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.

Lakoff, G. & Johnson, M. (2003). METAPHORS We Live By (2nd ed.). Chicago: The University of Chicago Press.

Mey, J. L. (1993). Pragmatics: An introduction. Oxford: Blackwell.

Stubbs, M. (1983). Discourse Analysis: The Sociolinguistic Analysis of Natural Language. Chicago: University of Chicago Press.