คำยืมภาษาไทยในวรรณคดีเขมรเรื่องรามเกียรติ์: ตอน ไวยราพณ์ร่ายมนต์สะกดเอาพระรามไปได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำยืมภาษาไทย รวมทั้งหน้าที่ของคำยืมเหล่านั้นที่ปรากฏในวรรณคดีเขมรเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนไวยราพณ์ร่ายมนต์สะกดเอาพระรามไปได้ ผลการศึกษาพบว่า คำยืมภาษาไทยที่พบในตอนดังกล่าวของวรรณคดีเขมรเรื่องรามเกียรติ์ มีจำนวน 39 คำ จำแนกโดยใช้ความหมายเป็นเกณฑ์ได้ 4 หมวด ได้แก่ 1) คำศัพท์ที่เกี่ยวกับชีวิต สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1.1) คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย 1.2) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางกาย และ 1.3) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางใจ 2) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรม สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ 2.1) คำเรียกขาน 2.2) คำเรียกดินแดน 2.3) คำเรียกเรื่องราวที่เกิดขึ้น 2.4) ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน 2.5) เพลงหน้าพาทย์ 2.6) ตำแหน่งขุนนางในราชสำนัก 3) คำศัพท์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 3.1) แร่ธาตุ 3.2) ธรรมชาติที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ 3.3) สภาพธรรมชาติที่แสดงลักษณะทางกายภาพของคน สัตว์ สิ่งของ และ 4) คำศัพท์เบ็ดเตล็ด สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1) คำบอกจำนวน 2) คำบอกหมวดหมู่ 3) คำบอกตำแหน่ง ส่วนหน้าที่ของคำยืมภาษาไทย มี 3 ประการ คือ เขมรยืมไปใช้เป็นคำสามัญ ใช้เป็นคำสื่อถึงสถานภาพและความสัมพันธ์ของตัวละคร และใช้สร้างความงามทางวรรณศิลป์
Article Details
References
ภาษาไทย
กรรณิการ์ ชินะโชติ. (2522). คำไทยและอิทธิพลบางประการของภาษาไทยในภาษาเขมร (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
กาญจนา นาคสกุล. (2501-2502). คำสันนิษฐานในภาษาไทยที่มีมูลรากเป็นภาษาเขมร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
จรัลวิไล จรูญโรจน์, หม่อมหลวง. (2560). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทองสืบ ศุภะมาร์ค. (2522). ภาษาเขมรในภาษาไทย และภาษาไทย บาลี-สันสกฤตในภาษาเขมร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
น้ำทิพย์ ภิงคารวัฒน์. (2551). การเปลี่ยนแปลงของภาษา: ภาษาอังกฤษผ่านกาลเวลา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษบา เรืองศรี. (2548). วรรณศิลป์และภาพสะท้อนวัฒนธรรมเขมรในรามเกรฺติ์ ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ เล่มที่ 1-10 (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาเขมร). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2555 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ลัลลนา ศิริเจริญ. (2525). อลังการในมหาชาติคำหลวง (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วัฒนา บุรกสิกร. (2541). รายงานการวิจัยเรื่อง ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษามอญ. กรุงเทพฯ: เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง.
วาคฺภัฏ. (2504). อลังการศาสตร์ (ป.ส.ศาสตรี, ผู้แปล). พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.
ศานติ ภักดีคำ. (2550). ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย-เขมร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
อรวรรณ บุญยฤทธิ์. (2562). ระบบเสียงและไวยากรณ์ภาษาไทยและภาษาเขมร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุไรศรี วรศะริน. (2553). ร่องรอยภาษาเขมรในภาษาไทย (Les elements Khmers dans la formation de la langue siamoise) (อรวรรณ บุญยฤทธิ์, จตุพรโคตรกนก และสมเกียรติ วัฒนาพงษากุล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาษาต่างประเทศ
Jacob, J. M. (1993). A Diachronic Survey of Some Khmer Particles (7 to 17 Centuries). In Cambodian Linguistic and History (pp. 193-225). London: SOAS.
Manomaivibool, P. (2020). Study of Sino-Thai Lexical correspondences. Bangkok: Arts Chula Books.
ឃីង ហុក ឌី. (1995). សាស្ត្រារាមកេរ្តិ៍ កាលវៃយរាពណ៍សណ្ដំយកព្រះរាមបាន. Paris: L’Harmattan.
ជួន ណាត, សម្ដេចព្រះសង្ឃរាជ. (1967). វចនានុក្រមខ្មែរ. ភ្នំពេញ: ពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត្យ.
គង់ សុខហេង. (2011). ពាក្យកម្ចីបរទេស និងលក្ខណៈសម្គាល់ពាក្យបាលី សំស្រ្កឹតក្នុងភាសាខ្មែរ. ភ្នំពេញ: បណ្ណាគារភ្នំពេញ.
សាគូ សាមុត. (2007). រឿងរាមកេរ្តិ៍. ភ្នំពេញ: បណ្ណាគារអង្គរ.
អៀវ កើស. (1967). ភាសាខ្មែរ ការល្បងពិនិត្យដោយរកហេតុផល. ភ្នំពេញ: ពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត្យ.