หน้าที่และความหมายของคำว่า “แล” ในภาษาไทยสมัยสุโขทัย

Main Article Content

ชินภัทร หนูสงค์
วิภาส โพธิแพทย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่และความหมายของคำว่า “แล” ในภาษาไทยสมัยสุโขทัย โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารประเภทจารึกสมัยสุโขทัยจำนวน 41 หลัก ในการวิเคราะห์หน้าที่ของคำว่า “แล” ผู้วิจัยอาศัยเกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ ส่วนการวิเคราะห์ความหมายพิจารณาจากปริบทการปรากฏ การแทนคำหรือวลีเกือบพ้องความหมาย ความหมายที่มีนักไวยากรณ์ได้ให้ไว้ และเกณฑ์ในการจำแนกคำเชื่อมตามความหมายของนววรรณ พันธุเมธา (2549)


ผลการศึกษาพบว่า คำว่า “แล” สามารถจำแนกหน้าที่ได้ 4 หน้าที่ ได้แก่ (1) คำเชื่อม (2) คำลงท้าย (3) ตัวบ่งชี้เรื่อง (4) คำขยายบอกหน่วยหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ส่วนคำว่า “แล” ที่เป็นคำเชื่อม สามารถจำแนกหน้าที่ย่อยได้ 3 หน้าที่ ได้แก่ คำเชื่อมนามวลี คำเชื่อมกริยาวลี และคำเชื่อมประโยคหรือปริจเฉท และคำว่า “แล” มีความหมายทั้งสิ้น 6 ความหมาย ได้แก่ (1) บอกผู้ร่วมเหตุการณ์ (2) บอกความเพิ่ม (3) บอกการเริ่มความใหม่ (4) บอกความต่อเนื่อง (5) บอกการเน้น และ (6) บอกหน่วยหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชินภัทร หนูสงค์, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาภาษาไทย 

วิภาส โพธิแพทย์, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาภาษาไทย 

References

ภาษาไทย

คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย. (2548). ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

จารึกกฎหมายลักษณะโจร ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25196

จารึกฐานพระพุทธรูปผ้าขาวทอง ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26005

จารึกฐานพระพุทธรูปพระนายคัมกอง ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/24708

จารึกป้านางคำเยีย ด้านที่ 1. (2555). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/93

จารึกวัดพระยืน ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25606

จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25594

จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ 2. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25595

จารึกวัดสรศักดิ์ ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25155

จารึกวัดหินตั้ง ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25705

จารึกวัดอโสการาม ด้านที่ 1. (2564). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/25706

จิราพร โชติเธียระวงศ์. (2524). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำสันธานในสมัยสุโขทัย อยุธยา กับสมัยปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ชวนพิศ อิฐรัตน์. (2518). การใช้คำและสำนวนในสมัยสุโขทัย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เทพี จรัสจรุงเกียรติ. (2543). หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นววรรณ พันธุเมธา. (2549). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัทธ์ชนัน เยาวพัฒน์. (2551). พัฒนาการของพหุหน้าที่ของคำว่า ซึ่ง ในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นันทกา พหลยุทธ. (2526). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำบุพบทในสมัยสุโขทัย อยุธยา กับสมัยปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ไพทยา มีสัตย์. (2540). การศึกษาคำช่วยหน้ากริยาที่กลายมาจากคำกริยาในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ไพบูลย์ ดวงจันทร์. (2526). วิวัฒนาการของคำว่า “แล”. ภาษาและวัฒนธรรม, 3(2), 58-71.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2543). โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ. (2552). ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย.

สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2551). “ยัง”: การศึกษาเชิงประวัติ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กิติมา อินทรัมพรรย์, และณัฐวุฒิ ไชยเจริญ. (2554). ไวยากรณ์ภาษาไทยมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อัสนี พูลรักษ์. (2562). สำนวนภาษาในวรรณคดีไทยที่สัมพันธ์กับสำนวนภาษาในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ภาษาต่างประเทศ

Iwasaki, S., & Ingkaphirom, P. (2005). A reference grammar of Thai (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Li, C. N., & Thompson, S. A. (1976). Subject and topic: A new typology of language. In Subject and topic (pp. 457-489). New York: Academic Press.