การสืบทอดและสร้างสรรค์แนวคิดเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในบทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8

Main Article Content

ปารเมศ อภัยฤทธิรงค์
อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในบทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 จำนวน 30 ชื่อเรื่อง รวม 235 สำนวน ผลการศึกษาพบว่า บทอาศิรวาทซึ่งเป็นบทร้อยกรองขนาดสั้นที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรพระมหากษัตริย์รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสสำคัญ มีการสืบทอดแนวคิดเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ที่มีมาแต่เดิม ทั้งแนวคิดตามคติศาสนา ได้แก่ ธรรมิกราชา โพธิสัตวราชา จักรพรรดิราชา และเทวราชา แนวคิดพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถด้านการปกครองและศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประชาราษฎร ขณะเดียวกันก็มีการนำแนวคิดเฉลิมพระเกียรติที่มีมาแต่เดิมมาตีความใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทสังคม นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอแนวคิดใหม่ เช่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำบ้านเมืองเข้าสู่โลกสมัยใหม่และเป็นพระประมุขของชาติตามรัฐธรรมนูญ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของบทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 ในฐานะวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมัยใหม่ที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่สัมพันธ์กับยุคสมัยและความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปารเมศ อภัยฤทธิรงค์, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาภาษาไทย

อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาภาษาไทย

References

ภาษาไทย

กรมศิลปากร. (2540). โคลงยวนพ่าย. ใน วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2) (น. 331-384). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถา ฉบับถอดความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

กรมศิลปากร. (2560). โสรมสรวงศิรธิรางค์ วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมัยอยุธยาตอนต้น: รวมบทความประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

กวีพจน์สุปรีชา, กรมหมื่น. (2463). กลอนพระราชประวัติประจำปี. ดุสิตสมิต ฉบับพิเศษสำหรับเปนที่ระฦกในงานเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2463, 13-18.

ขอถวายพระพรชัยมงคล. (2465). นักเรียน, 1(8), 2.

คณะทำงานประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย. (2549). สยามพิมพการ: ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

คำโคลงที่นักเรียนร้องถวายในเวลาเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐิน พ.ศ. 121 รวมทั้งวัดในกรุงและหัวเมือง. (2445). วชิรญาณ, 18(92), 457-458.

คำฉันท์เฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล. (2465). ศัพท์ไทย, 2(6), ก-จ.

คำฉันท์เฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล. (2466). ศัพท์ไทย, 3(6), ก-จ.

คำถวายไชยมงคลปีจออัฐศก 1248. (2429). วชิรญาณ, 8(32), 3229-3233.

คำถวายไชยมงคลปีจออัฐศก 1248. (2429). วชิรญาณ, 8(33), 3324-3325.

คำถวายพระพรชัยมงคล. (2471). เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์, 12(11), พิเศษ.

คำถวายพระพรชัยมงคล. (2486). วรรนคดีสาร, 2(2), 2.

คำถวายพระพรในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา. (2470). ไทยเขษม, 4(7), พิเศษ.

คำพากย์ถวายพระพรชัยมงคล. (2464). ดุสิตสมิต ฉบับพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2464, 1-4.

โคลงฉันท์กาพย์กลอน. (2445). วชิรญาณ, 18(94), 27.

โคลงถวายไชยมงคล อาจาริยตามโรงเรียนแต่งทูลเกล้าฯ ถวายในการพระราชทานพระกระฐิน. (2430ก). วชิรญาณวิเศษ, 3(5), 34.

โคลงถวายไชยมงคล อาจาริยตามโรงเรียนแต่งทูลเกล้าฯ ถวายในการพระราชทานพระกระฐิน. (2430ข). วชิรญาณวิเศษ, 3(9), 66.

โคลงสรรเสริญเกียรติกรุงสยาม. (2460). สมุทรสาร, 4(32), พิเศษ.

โคลงสรรเสอญพระบารมี. (2427). วชิรญาณ, 1(4), 353.

ฆัสรา ขมะวรรณ. (2540). Modernity, Modernism, Postmodernity, Postmodernism:

บทสำรวจการนิยาม. วารสารสังคมศาสตร์, 30(2), 92-115.

จารุมาลย์. (2473). อาเศียรพาทราชสดุดี ในอภิลักขิตสมัยพระราชพิธีเฉลิมฉัตรรัชชพรรษา พระพุทธศักราช 2473. ใน นารีนาถ, 1(2), พิเศษ.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). ลิลิตนิทราชาคริต. กรุงเทพฯ: วิสดอม.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2553). การเป็นสมัยใหม่ของไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 36(1), 1-7.

ชัยวารานุสร. (2462). ดุสิตสมัย, 8(119), 1.

ช้างราชพาหนะ. (2542). กรุงเทพฯ: โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย.

ชิต บุรทัต. (2471, 4 พฤศจิกายน). คำฉันท์ถวายพระพรชัยมงคล. โฟแท็กซ์, น. 1.

ชิต บุรทัต. (2484). เยาวกษัตริยสดุดี. ชีวิตไทย, 1(31), พิเศษ.

เชอร์รี่ เกษมสุขสำราญ. (2555). วรรณคดีสารกับการสร้างภาพลักษณะและบารมีของผู้นำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม. วารสารมนุษยศาสตร์, 19(2), 87-104.

ญาณินทร์ รักวงศ์วาน. (2552) บริบทที่แตกต่างของความเป็นสมัยใหม่ในประเทศไทย.วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 9(1), 33-42.

ตรัง, พระยา. (2547). โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. ใน วรรณกรรมพระยาตรัง (พิมพ์ครั้งที่ 5) (น. 191-290). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2555). ลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารค: จากพระราชพิธีสู่วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมนุษยศาสตร์, 19(1), 39-62.

ประมวลบทมาตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475. (2495). กรุงเทพฯ: บางกอกไทม์.

ปราโมทย์ สกุลรักความสุข. (2561). คุณค่าและบทบาทของบทอาศิรวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ปัทมาภรณ์ ผ่องแผ้ว และอาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล. (2565). แนวคิดและกลวิธีการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในทศชาติคําฉันท์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 29(1), 69-102.

ปุณณก (พุฒ), พระอธิการ. (2430). คำฉันทสดุดีพระเกียรติ. วชิรญาณวิเศษ, 3(10), 74-75.

แปลก พิบูลสงคราม. (2483). ประมวลรัฐนิยมและคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี ในรอบปี พุทธศักราช 2482 กับ สาราณียธมฺมกถา. พระนคร: โรงพิมพ์เจริญลาภ.

พันทิพา สังข์เจริญ. (2528). วิเคราะห์บทร้อยกรองเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464. (2564). ราชกิจจานุเบกษา, 38 (246), 246-292.

พระราชบัญญัติอธิกรณประถมปาราชิก พ.ศ. 2463. (2563). ราชกิจจานุเบกษา, 37 (79), 79-81.

ยุพร แสงทักษิณ. (2537). วรรณคดียอพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

รามจิตติ. (2460). อำนาจคือธรรม. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

วิเชษฐชาย กมลสัจจะ. (2561). บทอาศิรวาทเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช: ภาพลักษณ์พระมหากษัตริย์และกลวิธีการนำเสนอ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วิศรุต บวงสรวง. (2021). สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เพิ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2453 - 2468. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 8(1), 20-47.

สันติภาพ ชารัมย์. (2560). ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติเรื่อง 70 สัมพัจฉร์ฉลองรัชธรรมราชา. วิวิธวรรณสาร, 1(2), 15-36.

สำราญ ผลดี. (2551). แนวพระราชดำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศาสตร์). มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช, นนทบุรี.

เสาวณิต วิงวอน. (2538). เทวราชาและธรรมราชาในวรรณกรรมยอพระเกียรติ. ใน วรรณกรรม-ศิลปะ สดุดี (น. 76-87). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรุณนิภาคุณากร, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระ. (2440). สำเนาโคลงแลฉันท์ที่นักเรียนโรงเรียนวัดราชบพิธร้องสรรเสริญ. วชิรญาณ, 7(30), 3034-3039.

อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล. (2565). ชาดกกับวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิเดช พระเพ็ชร. (2561). ผ่านมาก็เพียงฝันไป: รัฐธรรมนูญกับความหมายและความเสื่อมคลายในประวัติศาสตร์การเมืองไทย, พ.ศ. 2475-2500. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 93-111.

ภาษาต่างประเทศ

Reitz, J. M. (2004). Dictionary for library and information science. Westport, Conn.: Libraries Unlimited.